การระบาดของโรคจุดสีน้ำตาลอย่างรุนแรงพบได้ไม่บ่อยนัก แต่ก็เกิดขึ้นได้เมื่อมีสภาพแวดล้อมเหมาะสมและพันธุ์มีความอ่อนแอต่อโรค โดยทั่วไปไม่พบรายงานการก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตทั้งในประเทศไทยหรือต่างประเทศที่มีการปลูกข้าวโพด และไม่จำเป็นต้องพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแต่อย่างใด
อาการของโรคจุดสีน้ำตาล คล้ายแต่ไม่ใช่ราสนิม...
มักมีผู้สับสนระหว่างโรคจุดสีน้ำตาลและโรคราสนิมและมีการวินิจฉัยโรคที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากโรคจุดสีน้ำตาลมีอาการคล้ายกับโรคราสนิม (southern rust)
โรคจุดสีน้ำตาลมีลักษณะดังนี้ เกิดจุดสีเหลืองขนาดเล็กบนใบ ถ้าเป็นโรคที่เส้นกลางใบ กาบใบ กาบหุ้มลำต้น เปลือกหุ้มฝัก มักจะเห็นเป็นจุดสีน้ำตาลเข้ม และจุดมีขนาดใหญ่กว่าที่ใบ
โรคจุดสีน้ำตาลมักเกิดจุดเหลืองหนาแน่นเป็นแถบๆ ตามขวาง เกิดจากตอนที่เชื้อเข้าทำลายตรงใบยอดซึ่งเป็นส่วนที่มีความชื้นและเมื่อใบมีการเจริญยืดตามการเจริญเติบโตจึงเกิดเป็นแถบ อาการโรคจุดน้ำตาลบนเส้นใบจะเกิดจุดสีน้ำตาลเข้มขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นอาการที่แตกต่างจากโรคราสนิม ที่สำคัญโรคราสนิมจะสร้างสปอร์สีส้มจำนวนมากใน pustule ที่มีลักษณะเป็นตุ่มนูน (ภาพที่ 11) เมื่อใช้มือลูบบนแผลจะมีผงสีสนิมติดมากับมือ
ภาพที่ 1 อาการระยะแรกของโรคจุดสีน้ำตาล
ภาพที่ 2 โรคจุดสีน้ำตาลบนเส้นกลางใบจะมีสีน้ำตาลเข้ม มีขนาดใหญ่กว่าจุดที่ใบ
ภาพที่ 3 จุดเหลืองเป็นแถบหนาแน่นตามขวางบนใบข้าวโพด
ภาพที่ 4
ภาพที่ 5 และภาพที่ 4 การระบาดของโรคจุดสีน้ำตาลในข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์การค้า
ในไร่เกษตรกร อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์
20 มิถุนายน 54
ภาพที่ 6 โรคจุดสีน้ำตาลบนกาบใบ
ภาพที่ 7 โรคจุดสีน้ำตาลเกิดที่ลำต้น จะเห็นผงสีน้ำตาลซึ่งเป็นสปอร์ของเชื้ออยู่ในลำต้น
ภาพที่ 8 ลักษณะสปอร์ (sporangium)ของเชื้อโรคจุดสีน้ำตาล Physoderma maydis
ภาพที่ 9 ภาคตัดขวางเซลล์กาบใบข้าวโพด (cross section) จะเห็นสปอร์ (sporangium) ของเชื้อ
Physoderma maydis อยู่ในเซลล์
ภาพด้านล่าง จากภาพที่ 10-12 เป็นอาการและเชื้อสาเหตุโรคราสนิม
ภาพที่ 10 อาการของโรคราสนิม จะมีผงสปอร์สีส้มบนแผล
ภาพที่ 11 ตุ่มนูน (pustule)ที่บรรจุสปอร์ของเชื้อราสนิม
ภาพที่ 12 ลักษณะของเชื้อโรคราสนิม Puccinia polysora
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น