แมลงบั่วเป็นแมลงปากซับดูด ตัวเต็มวัยเข้าทำลายพืชลักษณะคล้ายยุง มีลำตัวสีเขียว สามารถทำลายได้ตั้งแต่ใบ ดอก ผลอ่อน
ใบ : พบอาการตั้งแต่ใบอ่อนจนถึงใบแก่ โดยพบตุ่มบนหลังใบขนาดเล็กประมาณ 0.1-0.2 มิลลิเมตร ตอนแรกจะเป็นสีเหลืองต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อนและเป็นสีดำในที่สุด มีรูที่ตุ่มด้านบนเป็นร่องรอยของแมลงบั่วเจาะออกไป
ดอก : มีลักษณะบวมโป่งพอง ขนาดของดอกโตกว่าดอกปกติ เมื่อผ่าดอกจะพบหนอนสีครีมใสหลายตัว
ผลอ่อน : ผลอ่อนโป่งพองใสกลม และพบจุดสีน้ำตาลหรือดำที่ผลเป็นร่องรอยการเจาะออกของแมลงและทำให้ผลมะม่วงร่วงเสียหายมาก
จะพบปุ่มปมบนใบมะม่วงในสวนมะม่วงทั่วไปที่ไม่ค่อยดูแลและตัดแต่งกิ่งซึ่งเป็นแหล่งสะสมของแมลง เมื่อถึงฤดูกาลติดดอกออกผลของมะม่วงระหว่างเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ แมลงจะเข้าทำลายดอกและผลอ่อนของมะม่วง จะทำให้ดอกและผลอ่อนของมะม่วงร่วงหล่นเสียหาย พบแมลงชนิดนี้ระบาดในช่วงเดือนมกราคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ที่อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตมะม่วงส่งออกที่สำคัญของภาคเหนือ โดยเฉพาะพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง มีพื้นที่ปลูกประมาณ 5,000 ไร่ ถูกแมลงบั่วทำลายมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ บางรายเสียหาย 100 เปอร์เซ็นต์ ชาวสวนจำเป็นต้องทำมะม่วงรุ่นใหม่ เป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต และทำให้การส่งออกมะม่วงไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
การป้องกันกำจัด
1. หลังเก็บเกี่ยวมะม่วงเสร็จในแต่ละฤดูกาล ควรมีการตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง ไม่เป็นที่สะสมของแมลงและโรค
2. ในเขตที่เคยพบแมลงระบาด ควรสำรวจแปลงมะม่วงสม่ำเสมอถ้าพบการทำลายให้รีบป้องกันกำจัดด้วยสารเคมี คาร์บาริล หรืออิมิดาโคลพริด ตามอัตราแนะนำ
แหล่งข้อมุล : สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 กรมวิชาการเกษตร
การป้องกันกำจัด
1. หลังเก็บเกี่ยวมะม่วงเสร็จในแต่ละฤดูกาล ควรมีการตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง ไม่เป็นที่สะสมของแมลงและโรค
2. ในเขตที่เคยพบแมลงระบาด ควรสำรวจแปลงมะม่วงสม่ำเสมอถ้าพบการทำลายให้รีบป้องกันกำจัดด้วยสารเคมี คาร์บาริล หรืออิมิดาโคลพริด ตามอัตราแนะนำ
แหล่งข้อมุล : สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 กรมวิชาการเกษตร