27 มิถุนายน 2555

ขอเชิญเที่ยวงาน เกษตรรุ่งเรือง เมืองสี่แคว

ภาพข่าว : นายปรีชา เรืองจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ แถลงข่าวการจัดงานเกษตรรุ่งเรือง เมืองสี่แคว และให้สัมภาษณ์แก่ผู้สื่อข่าว เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2555 เวลา 09.00น. ณ ห้องประชุม สำนักงานเกษตรจังหวัดนครสวรรค์

รายละเอียดการจัดงาน เกษตรรุ่งเรือง เมืองสี่แคว

จังหวัดนครสวรรค์ กำหนดจัดงาน เกษตรรุ่งเรือง เมืองสี่แคว ประจำปี 2555
ระหว่างวันที่ 13-22 กรกฎาคม 2555
ณ บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์

เพื่อเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ผลิตผลและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่มีชื่อเสียงของอำเภอต่างๆ ในจังหวัดนครสวรรค์ และเป็นการสร้างเครือข่ายเชื่อโยงระหว่างผู้ผลิต ผู้บริโภคโดยตรง ซึ่งจะทำให้การพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม เกิดความมั่นคงและยั่งยืน ตลอดจนเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในจังหวัด อีกทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่เกษตรกรเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย
1.นิทรรศการฐานความรู้ทางการเกษตร ด้านดิน น้ำ ข้าวพืชไร่ ไม้ผล พืชผัก ประมง ปศุสัตว์ เกษตรปลอดภัย ยางพารา องค์กรเกษตรกรเข้มแข็ง ปลดหนี้ด้วยบัญชีและเศรษฐกิจพอเพียง

2.การประกวด ได้แก่ ไม้ผล พืชผัก ทำอาหารจากปลานิล ประกวดภาพถ่ายปลานิล ประกวดวาดภาพระบายสีเกี่ยวกับปลานิล ประกวดปลานิลใหญ่ (ปลาเป็น) โคพันธุ์เนื้อ

3.การประกวด ได้แก่ ไม้ผล พืชผัก ทำอาหารจากปลานิล ประกวดภาพถ่ายปลานิล ประกวดวาดภาพระบายสีเกี่ยวกับปลานิล ประกวดปลานิลใหญ่ (ปลาเป็น) โคพันธุ์เนื้อ

4.การสาธิต ได้แก่ การสาธิตสีข้าว สาธิตทำกระเป๋าจากต้นกก สาธิตการทาบกิ่ง จำหน่ายพันธุ์ไม้ผล ผลิตภัณฑ์จากปลานิล อาหารจากปลานิล การฝึกโค และการจูงโค โชว์พ่อพันธุ์โคเนื้อ แพะเนื้อ การกรีดยาง ระบายสีตุ๊กตายาง สหกรณ์สอนอาชีพ

และยังมีการจำหน่ายสินค้าทางการเกษตรที่ทางราชการส่งเสริม สนับสนุนจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านการเกษตร สหกรณ์การเกษตร รวมทั้งกลุ่ม OTOP นอกจากนี้ยังมีสินค้าอีกหลากหลายมาจำหน่าย มีมหรสพ ดนตรี มาแสดงในงานทุกคืน

ขอเชิญเกษตรกรและผู้สนใจเข้าชมงานได้ ฟรี


15 มิถุนายน 2555

เตือนภัย การระบาดของไรแดง มันสำปะหลัง

ช่วงนี้ พบการระบาดของไรแดง ในแปลงมันสำปะหลังหลายท้องที่ เกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลังควรหมั่นสำรวจแปลงปลูก หากพบการระบาดจะได้ป้องกันกำจัดทัน ก่อนที่จะระบาดรุนแรง

ไรแดง เป็นศัตรูที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของมันสำปะหลัง ที่มักระบาดในฤดูแล้ง หรือ เมื่อฝนทิ้งช่วง โดยไรแดงจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบทำให้สูญเสียคลอโรฟิลล์ หากระบาดรุนแรงจะเคลื่อนย้ายไปดูดกินบนยอดอ่อน สร้างเส้นใยปกคลุมใบและลำต้น ทำให้ผิวใบด้านบนเป็นจุดด่างประสีเหลืองซีด ยอดไหม้ ใบเหี่ยวแห้ง และร่วง หากเกษตรกรพ่นสารป้องกันกำจัดไรได้ทัน ก็จะสามารถยับยั้งการระบาดได้

ในสภาพธรรมชาติ แปลงมันสำปะหลังจะมีศัตรูธรรมชาติที่คอยทำลายแมลงศัตรูพืชอยู่มาก แต่ระยะที่ผ่านมาเริ่มมีการใช้สารเคมีในแปลงปลูกมันสำปะหลังมากขึ้น ทำให้ศัตรูธรรมชาติถูกทำลาย จึงมีการระบาดของศัตรูพืช เช่น เพลี้ยแป้ง ไรแดง และแมลงหวี่ขาว รุนแรงมากขึ้น

กรณีที่ไรแดงระบาดรุนแรง กลุ่มกีฏวิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ได้แนะนำชนิดและอัตราของสารฆ่าไรที่มีประสิทธิภาพในการกำจัด ดังนี้

- ไพริดาเบน (pyridaben) ๒๐% ดับบลิวพี อัตรา ๑๐ กรัม/น้ำ ๒๐ ลิตร

- เฟนบูทาติน ออกไซด์ (fenbutatin oxide) ๕๕% เอสซี อัตรา ๑๐ ซีซี/น้ำ ๒๐ ลิตร

- สไปโรมีซิเฟน (spiromesifen) ๒๔% เอสซี อัตรา ๖ ซีซี/น้ำ ๒๐ ลิตร

- เตตราไดฟอน (tetradifon) ๗.๒๕% อีซี อัตรา ๕๐ ซีซี/น้ำ ๒๐ ลิตร

ในการใช้สารฆ่าไร ไม่ควรพ่นชนิดเดียวกันติดต่อกันเกิน ๓ ครั้ง ควรสลับชนิดสารเพื่อป้องกันการต้านทานต่อสาร ข้อมูลเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๕๗๙ ๔๑๒๘

ลักษณะการทำลายของไรแดง

ภาพที่ 1 อาการเริ่มแรกที่เกิดจากการทำลายของไรแดง ใบเกิดจุดประสีขาว

ภาพที่ 2 พลิกดูใต้ใบจะเห็นตัวไรแดง ลักษณะเป็นจุดแดงขนาดเล็ก

ภาพที่ 3 ไรแดงทำลายอย่างรุนแรง ใบเริ่มเป็นสีน้ำตาล


ภาพที่ 4 หากไม่มีการป้องกันกำจัดไรแดงที่เหมาะสมทำให้ใบไหม้ แห้ง


ข้อมูล:กลุ่มกีฏวิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

เนื้อหา