18 พฤศจิกายน 2559

อาการขาดธาตุเหล็กในข้าวโพด

เมื่อข้าวโพดขาดธาตุเหล็ก
IRON (Fe) deficiency
+ข้าวโพดที่ขาดธาตุเหล็ก ต้นจะแคระแกร็น ใบเหลืองซีด ถ้าขาดธาตุอย่างรุนแรง จะไม่มีฝัก
+เหล็กเป็นธาตุที่ไม่เคลื่อนย้ายในต้นพืช (immobile ) ต้นที่ขาดธาตุเหล็ก จึงแสดงอาการที่ใบอ่อน หรือใบส่วนยอดของลำต้น ใบแก่ยังคงเขียวปกติ
+ถ้าขาดธาตุเหล็กไม่รุนแรงนัก หรือเป็นอาการระยะเริ่มแรก ใบอ่อนจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวซีดหรือเหลืองซีด โดยที่เส้นใบยังคงมีสีเขียวซึ่งเป็นอาการจำเพาะของการขาดธาตุเหล็ก
+ระยะต่อมาถ้าพืชยังคงแสดงอาการขาดและรุนแรงมากขึ้น แผ่นใบจะซีดขาวเหมือนกระดาษ เส้นใบมีสีเหลืองซีด

#ดินที่มีปัญหา
+ดินทรายที่มีปริมาณธาตุเหล็กต่ำ
+ดินเนื้อปูน (calcareous soils) ซึ่งความสามารถในการละลายของธาตุเหล็กน้อย
+ดินกรดที่ถึงแม้จะมีธาตุเหล็กสูงแต่ถ้ามีธาตุสังกะสี แมงกานิส ทองแดง หรือนิกเกิลสูงในสารละลายดิน ทำให้ขัดขวางการดึงดูดของธาตุเหล็กขึ้นสู่ต้นพืช
+ดินที่มีน้ำขัง
+ดินด่างที่มีพีเอชมากกว่า 7.5

#แนวทางผสมผสานการจัดการ
+หลีกเลี่ยงดินที่มีปัญหา
+ก่อนปลูกวิเคราะห์ดินเพื่อหาปริมาณธาตุเหล็กที่เป็นประโยชน์
+ปรับปรุงดินด้วยการใ่ส่เหล็กคีเลท (iron che-lates) ในรูปอินทรีย์ อัตรา 1.6 กก./ไร่ ทั้งนี้รูปของเหล็กคีเลทที่ใช้ขึ้นกับพีเอชดิน ถ้าดินเป็นกลาง ให้ใส่เหล็กคีเลทในรูป FeHEDTA และ FeDTPA ถ้าดินเป้นกรด ให้ใส่ในรูป FeEDTA ในดินเนื้อปูนให้ใช้ FeEDDHA
เมื่อพืชแสดงอาการขาดให้พ่นทางใบด้วยสารละลาย เหล็กซัลเฟต หรือเหล็กคลอไรด์ (0.5 - 1.0%) 2-3 ครั้ง ทุก 10-15 วัน


source: Nutrient Deficiencies of Field Crops Guide to Diagnosis and Management

10 พฤศจิกายน 2559

โรคเมล็ดและฝักเน่าในข้าวโพด :โบทรัยโอดิพโพเดีย

โรคเมล็ดและฝักเน่าที่เกิดจากเชื้อราโบทรัยโอดิพโพลเดีย หรือ Black Kernel Rot

เป็นอีกโรคหนึ่งที่พบได้เมื่อมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม โดยเข้าทำลายตั้งแต่ระยะก่อนเก็บเกี่ยว ทำให้เมล็ดเน่า ผลผลิตเสียหาย

หากปีไหนมีฝนตกต่อเนื่องตั้งแต่ข้าวโพดอยู่ในระยะสะสมน้ำหนักเมล็ดเรื่อยมาจนถึงระยะเก็บเกี่ยว ปลายเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคม มักเกิดโรคฝักเน่า จากเชื้อรา Botryodiplodia theobromae (Synonym Lasiodiplodia theobromae)  #อาการของโรคที่สำคัญคือเมล็ดมีสีดำเข้มเป็นมันวาว  #มักเกิดกับเมล็ดด้านขั้วฝัก

เป็นโรคที่เชื้อเข้าทำลายตั้งแต่ก่อนระยะเก็บเกี่ยว

++ ในปีที่มีฝนตกชุกติดต่อกัน เกษตรกรในพื้นที่ที่เก็บฝักแห้ง เมื่อถึงอายุเก็บเกี่ยว ให้รีบเก็บเกี่ยว ไม่ควรทิ้งข้าวโพดคาแปลง หากต้องการเก็บฝักใว้ในยุ้ง ควรคัดฝักที่มีเชื้อราออกไป

ภาพที่ 1 ข้าวโพดในพื้นที่ อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ เมื่อ 7 ต.ค.59


ภาพที่ 2 ที่ ต.เขาชายธง อ.ตากฟ้า เมื่อ 30 กันยายน 52 และ ต.สุขสำราญ อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ เมื่อ กันยายน 60





ภาพที่ 3 ลักษณะคอนิเดียของเชื้อสาเหตุ B. theobromae



ภาพที่ 4 เมล็ดและฝักเน่าที่เกิดจากเชื้อรา Macrophomina phaseolina


สำหรับเชื้อรา M. phaseolina ซึ่งเป็นเชื้อสาเหตุของโรคต้นเน่ามาโครโฟมิน่า (charcoal stalk rot) เข้าทำลายเมล็ดและฝักได้เช่นกัน โดยเฉพาะต้นข้าวโพดที่หักล้มแล้วฝักสัมผัสกับพื้นดิน ทำให้เชื้อเข้าทำลายได้ง่าย 
อาการ  ที่เมล็ดมีสีดำคล้ายๆกับโรคเมล็ดและฝักเน่าที่เกิดจากเชื้อรา B. theobromae แตกต่างกันที่ ถ้าเกิดจากเชื้อรา M. phaseolina #ที่เมล็ดจะเห็นเป็นจุดสีดำขนาดเล็กกระจายอยู่บนเมล็ด ซึ่งเป็นเม็ดสเคลอโรเทียมของเชื้อรา M. phaseolina นั่นเอง


โรคเมล็ดและฝักเน่าในข้าวโพด :เพนิซิลเลียม

โรคเมล็ดและฝักเน่าในข้าวโพดที่เกิดจากเชื้อราเพนิซิลเลียม (Penicillium kernel and ear rot)

ช่วงเก็บเกี่ยวอาจพบข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่มีเมล็ดและฝักเน่า เกิดได้จากเชื้อราหลายชนิด
เชื้อราเพนิซิลเลียม  (Penicillium sp.) เป็นหนึ่งในเชื้อราที่สามารถทำลายเมล็ดและฝักข้าวโพด  (Penicillium ear rot) โดยเข้าทำลายตั้งแต่ระยะก่อนเก็บเกี่ยว

+เชื้อราเพนิซิลเลียมหลายสปีชีส์ที่ทำลายเมล็ดข้าวโพดและสร้างสารพิษโอคลาทอกซิน (ochratoxin) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

+ลักษณะสำคัญของโรคฝักเน่าข้าวโพด ที่เกิดจากการทำลายของเชื้อราเพนิซิลเลียม ที่แตกต่างจากโรคเมล็ดเน่าและฝักเน่าที่เกิดจากการทำลายเชื้อชนิดอื่นๆ คือ #มีส่วนของเชื้อราที่มีสีเขียวอมฟ้าอยู่ตามซอกระหว่างเมล็ดและบนแกนฝัก #เมล็ดมักจะมีสีขาวซีดและมีรอยขีดสีขาว

+พบในสภาพที่มีความชื้นสูง ฝนตกติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือในพันธุ์ที่เปลือกหุ้มฝักไม่มิด หรือไม่แน่น

++ภาพประกอบ : Penicillium ear rot ที่ อ.ตากฟ้า แปลงนี้ปลูก 28 มีนาคม 59 เริ่มมีฝนตกติดต่อกันตอนข้าวโพดอายุ 82 วัน จนถึงเก็บเกี่ยว (จำนวนวันฝนตก 28 วัน) อุณหภูมิสูงสุดฉลี่ย ช่วงวันปลูก-เก็บเกี่ยว เท่ากับ 37.1 C 








ภาพจากการสำรวจในปี 2560





11 เมษายน 2559

ปริมาณความต้องการน้ำของพืชไร่

ในภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศทวีความรุนแรงขึ้น การกระจายตัวของฝนเปลี่ยนแปลงไป ฝนไม่ตกตามฤดูกาล  เกิดวิกฤตความแห้งแล้ง เป็นปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญต่อการผลิตพืช

น้ำเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมากต่อการให้ผลผลิตของพืช ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ได้วิเคราะห์และจัดทำข้อมูลปริมาณความต้องการน้ำของพืชไร่ ซึ่งได้แก่ อ้อย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดหวาน ข้าวฟ่าง งา มันสำปะหลัง ฝ้าย ถั่วเขียวและถั่วเหลือง เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการระบบการปลูกพืชและการใช้น้ำตามความต้องการของพืชในแต่ละช่วงอายุการเจริญเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ





































ดาวน์โหลด ไฟล์ PDF ปริมาณความต้องการน้ำของพืชไร่ 


เนื้อหา