โรคเมล็ดและฝักเน่าที่เกิดจากเชื้อราโบทรัยโอดิพโพลเดีย หรือ Black Kernel Rot
เป็นอีกโรคหนึ่งที่พบได้เมื่อมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม โดยเข้าทำลายตั้งแต่ระยะก่อนเก็บเกี่ยว ทำให้เมล็ดเน่า ผลผลิตเสียหาย
หากปีไหนมีฝนตกต่อเนื่องตั้งแต่ข้าวโพดอยู่ในระยะสะสมน้ำหนักเมล็ดเรื่อยมาจนถึงระยะเก็บเกี่ยว ปลายเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคม มักเกิดโรคฝักเน่า จากเชื้อรา Botryodiplodia theobromae (Synonym Lasiodiplodia theobromae) #อาการของโรคที่สำคัญคือเมล็ดมีสีดำเข้มเป็นมันวาว #มักเกิดกับเมล็ดด้านขั้วฝัก
เป็นโรคที่เชื้อเข้าทำลายตั้งแต่ก่อนระยะเก็บเกี่ยว
++ ในปีที่มีฝนตกชุกติดต่อกัน เกษตรกรในพื้นที่ที่เก็บฝักแห้ง เมื่อถึงอายุเก็บเกี่ยว ให้รีบเก็บเกี่ยว ไม่ควรทิ้งข้าวโพดคาแปลง หากต้องการเก็บฝักใว้ในยุ้ง ควรคัดฝักที่มีเชื้อราออกไป
ภาพที่ 1 ข้าวโพดในพื้นที่ อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ เมื่อ 7 ต.ค.59
ภาพที่ 2 ที่ ต.เขาชายธง อ.ตากฟ้า เมื่อ 30 กันยายน 52 และ ต.สุขสำราญ อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ เมื่อ กันยายน 60
ภาพที่ 3 ลักษณะคอนิเดียของเชื้อสาเหตุ B. theobromae
ภาพที่ 4 เมล็ดและฝักเน่าที่เกิดจากเชื้อรา Macrophomina phaseolina
สำหรับเชื้อรา M. phaseolina ซึ่งเป็นเชื้อสาเหตุของโรคต้นเน่ามาโครโฟมิน่า (charcoal stalk rot) เข้าทำลายเมล็ดและฝักได้เช่นกัน โดยเฉพาะต้นข้าวโพดที่หักล้มแล้วฝักสัมผัสกับพื้นดิน ทำให้เชื้อเข้าทำลายได้ง่าย
อาการ ที่เมล็ดมีสีดำคล้ายๆกับโรคเมล็ดและฝักเน่าที่เกิดจากเชื้อรา B. theobromae แตกต่างกันที่ ถ้าเกิดจากเชื้อรา M. phaseolina #ที่เมล็ดจะเห็นเป็นจุดสีดำขนาดเล็กกระจายอยู่บนเมล็ด ซึ่งเป็นเม็ดสเคลอโรเทียมของเชื้อรา M. phaseolina นั่นเอง