มะขามเทศ
มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ และตอนใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกา
แพร่กระจายและนำเข้ามาปลูกในหลายประเทศ เช่น ไฮติ อินเดีย อินโดนีเซีย จาไมกา
เคนยา เปอโตริโก ซูดาน แทนซาเนีย รวมทั้งประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เป็นไม้ผลที่ให้ประโยชน์หลากหลาย
บางประเทศ ใช้ฝักและใบเป็นอาหารสัตว์จำพวก ม้า แพะ แกะ อูฐ การเลี้ยงผึ้งจากดอกของมะขามเทศให้น้ำผึ้งที่มีคุณภาพดี นอกจากนี้น้ำมันจากเมล็ดยังสามารถใช้ประกอบอาหารได้
ในประเทศไทยนิยมรับประทานผลสด
มีการปลูกเพื่อการค้า ขายตามข้างทาง ทำรายได้ให้เกษตรกรค่อนข้างดี
สำหรับศัตรูของมะขามเทศ นั้น ในต่างประเทศมีรายงานของโรคและแมลงศัตรูที่เข้าทำลายมะขามเทศ ดังนี้
หนอนเจาะทำลายผลและเมล็ด (Subpandesma
anysa) มวน (Umbonia
crassicornis) หนอนเจาะลำต้น Indarbela spp. Polydesma umbricola
โรคใบจุด
ที่เกิดจากเชื้อรา Cercospora mimosae, Collectotrichum dematium, C.
pithecellobii, Phyllosticta ingaedulcis, P.
pithecellobii, โรคไส้เน่า หรือ Heart rot (Phellinus spp) (อินเดีย)
(ข้อมูลจาก
http://www.worldagroforestry.org/treedb/AFTPDFS/Pithecellobium_dulce.PDF)
การระบาดของศัตรูมะขามเทศที่พบในประเทศไทย
1) ไรแดงชมพู่
ช่วงเดือนพฤศจิการยน พบมะขามเทศ มีลักษณะอาการที่เกิดจากการทำลายของไรบนใบและฝักมะขามเทศ ซึ่งศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ ได้ส่งตัวอย่างไรที่พบบนใบและฝักมะขามเทศที่มีอาการผิดปกติในพื้นที่ อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ (ภาพที่ 1-5) ไปตรวจสอบและจำแนกชนิดที่ กลุ่มงานวิจัยไรและแมงมุม กลุ่มกีฏวิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร พบว่า ไรที่ทำลายมะขามเทศเป็นชนิดไรแดงชมพู่ (rose apple red mite) ชื่อวิทยาศาสตร์ Oligonychus biharensis พบที่ใบและทำให้เกิดความเสียหายเมื่อเข้าทำลายที่ฝัก ทำให้ผิวของฝักมีสีน้ำตาล คล้ายสนิม หากทำลายตั้งแต่ฝักยังเล็ก ทำให้ฝักลีบ แห้ง เมื่อทำลายฝักโตที่ยังไม่แก่ทำให้ผิวด้านนอกของเปลือกเป็นสะเก็ดแข็งสีน้ำตาล
1) ไรแดงชมพู่
ช่วงเดือนพฤศจิการยน พบมะขามเทศ มีลักษณะอาการที่เกิดจากการทำลายของไรบนใบและฝักมะขามเทศ ซึ่งศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ ได้ส่งตัวอย่างไรที่พบบนใบและฝักมะขามเทศที่มีอาการผิดปกติในพื้นที่ อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ (ภาพที่ 1-5) ไปตรวจสอบและจำแนกชนิดที่ กลุ่มงานวิจัยไรและแมงมุม กลุ่มกีฏวิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร พบว่า ไรที่ทำลายมะขามเทศเป็นชนิดไรแดงชมพู่ (rose apple red mite) ชื่อวิทยาศาสตร์ Oligonychus biharensis พบที่ใบและทำให้เกิดความเสียหายเมื่อเข้าทำลายที่ฝัก ทำให้ผิวของฝักมีสีน้ำตาล คล้ายสนิม หากทำลายตั้งแต่ฝักยังเล็ก ทำให้ฝักลีบ แห้ง เมื่อทำลายฝักโตที่ยังไม่แก่ทำให้ผิวด้านนอกของเปลือกเป็นสะเก็ดแข็งสีน้ำตาล
ปกติมักพบการระบาดของไรแดงชมพู่
ในชมพู่ ลิ้นจี่ ชงโค ส้มเสี้ยว ส่วนพืชอื่นๆ เช่น มะขามเทศ แคฝรั่ง ฝ้าย
ทองหลาง กระถิน กุหลาบ มันสำปะหลัง และน้อยหน่า จะมีการเข้าทำลายเป็นครั้งคราว ลักษณะการทำลาย ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช
(ข้อมูลจาก คู่มือตรวจไรศัตรูพืชเศรษฐกิจ กลุ่มงานวิจัยไรและแมงมุม กลุ่มกีฏวิทยา
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร)
การป้องกันกำจัดไรแดงชมพู่
ในแหล่งที่มีการระบาด เกษตรกรสามารถตรวจสอบที่ใบมะขามเทศด้วยแว่นขยาย เนื่องจากไรมีขนาดเล็ก หากพบไรตัวเต็มวัยซึ่งมีลักษณะสีแดงเข้มอมม่วง หรือ ตัวอ่อนไรที่มีลักษณะใส สีน้ำตาลอ่อน ควรพิจารณาป้องกันกำจัดในระยะก่อนหรือใกล้กับช่วงที่จะเริ่มติดฝัก เพื่อลดปัญหาสารตกค้างในฝักซึ่งเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค โดยพ่นด้วยสารกำจัดไร เช่น ไพริดาเบน (แซนไมท์ 20%WP) อัตรา 10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ กำมะถันผง 80%WP อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
** หากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่หน่วยงานของกรมวิชาการเกษตรในพื้นที่
การป้องกันกำจัดไรแดงชมพู่
ในแหล่งที่มีการระบาด เกษตรกรสามารถตรวจสอบที่ใบมะขามเทศด้วยแว่นขยาย เนื่องจากไรมีขนาดเล็ก หากพบไรตัวเต็มวัยซึ่งมีลักษณะสีแดงเข้มอมม่วง หรือ ตัวอ่อนไรที่มีลักษณะใส สีน้ำตาลอ่อน ควรพิจารณาป้องกันกำจัดในระยะก่อนหรือใกล้กับช่วงที่จะเริ่มติดฝัก เพื่อลดปัญหาสารตกค้างในฝักซึ่งเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค โดยพ่นด้วยสารกำจัดไร เช่น ไพริดาเบน (แซนไมท์ 20%WP) อัตรา 10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ กำมะถันผง 80%WP อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
** หากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่หน่วยงานของกรมวิชาการเกษตรในพื้นที่
ภาพที่ 1 ลักษณะการทำลายของไรแดงชมพู่บนฝักมะขามเทศ
ภาพที่ 2 ลักษณะการทำลายของไรแดงชมพู่บนฝักมะขามเทศ
ภาพที่ 3 ลักษณะการทำลายของไรแดงชมพู่บนฝักมะขามเทศ
ภาพที่ 4 ลักษณะตัวอ่อนของไรแดงชมพู่บนฝักมะขามเทศ
ภาพที่ 5 ลักษณะตัวเต็มวัยของไรแดงชมพู่ที่เข้าทำลายมะขามเทศ
2)
หนอนเจาะผลลิ้นจี่
(litchi fruit moth, macadamia nut borer; Cryptophlebia
ombrodelta (Lower))
หนอนเจาะผลลิ้นจี่ หรือ หนอนเจาะผลมะคาเดเมีย เข้าทำลายโดยผีเสื้อตัวเมียวางไข่ในผลหรือฝักของพืชอาศัย หนอนที่ฟักออกมาเจาะเข้าไปในผลหรือฝักกัดกินเมล็ด
เข้าดักแด้ในผลหรือฝัก หรือพื้นดิน หนอนเจาะผลลิ้นจี่ มีพืชอาศัยค่อนข้างกว้าง ทำลายพืชได้หลายชนิด เป็นแมลงศัตรูที่สำคัญของมะคาเดเมีย ลิ้นจี่ ลำไย พบการระบาดในประเทศออสเตรเลีย กวม ญี่ปุ่น อินเดีย ไทย ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ไต้หวัน เกาะฮาวาย (ข้อมูลจาก http://idtools.org/id/leps/tortai/Cryptophlebia_ombrodelta.htm)
สำหรับประเทศไทยพบการทำลายมะขามเทศเมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2561
ในพื้นที่ อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา (จำแนกชนิดโดยกลุ่มวิจัยกีฏวิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร)
ภาพที่ 6 ผีเสื้อหนอนเจาะผลลิ้นจี่ หรือ หนอนเจาะผลมะคาเดเมีย มีสีน้ำตาล น้ำตาลแดง
ตัวเมียมีจุดสีน้ำตาลเข้มที่ปีก
ภาพที่ 7 ลักษณะการทำลายในฝักมะขามเทศ
ภาพที่ 8 ลักษณะการทำลายในฝักมะขามเทศ
ภาพที่ 9 ลักษณะการทำลายในฝักมะขามเทศ
ภาพที่ 10 ลักษณะการทำลายในฝักมะขามเทศ