หนอนด้วงดีด หรือ wireworms
ชื่อวิทยาศาสตร์ Aeolus
mellilus (Coleoptera : Elateridae) นอกจาก Aeolus mellilus ยังพบด้วงดีดชนิดอื่นๆ ที่ทำลายข้าวโพด
ลักษณะการทำลาย
ระยะตัวหนอนเป็นระยะที่ทำลายพืช มักพบการทำลายในระยะกล้า หลังจากเมล็ดเริ่มงอก โดยกัดกินเนื้อในเมล็ดข้าวโพดที่ปลูกอยู่ในดิน กัดกินส่วนราก โคนต้น หรือ กัดกินส่วนเจริญบริเวณโคนต้น ทำให้ต้นข้าวโพดเหี่ยวและแห้งตายเป็นหย่อม ๆ
การทำลายในระยะต้นโต หนอนกัดกินราก กัดกินส่วนโคนต้น และเจาะเข้าไปในลำต้นทำให้ต้นข้าวโพดหักล้ม
ช่วงที่พบการระบาด
พบการระบาดบางจุดของพื้นที่ เป็นบางช่วงเท่านั้น ไม่ได้ทำความเสียหายในพื้นที่กว้าง
ช่วงที่พบได้แก่ สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมกราคม 2560 พฤศจิกายน 2562 สัปดาห์ที่ 3 มกราคม 2562 สัปดาห์ที่ 3 เดือนมีนาคม 2563 ในพื้นที่แปลงทดลองปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์
ลักษณะของหนอนด้วงดีด
ตัวหนอนและตัวเต็มวัยของด้วงดีด มีลักษณะแตกต่างกันในแต่ละชนิด หนอนด้วงดีด มีพืชอาหารหลายชนิด อาศัยอยู่ในส่วนดอก ใต้เปลือก และภายในต้นพืช ตัวหนอนมีรูปร่างเรียวยาว ลำตัวเป็นมันวาว ระยะตัวหนอนเป็นระยะที่ทำลายพืชได้รุนแรง โดยกัดกินรากและส่วนของพืชที่อยู่ใต้ดิน ตัวหนอนเข้าดักแด้ในเนื้อเยื่อพืชที่อยู่ใต้ดิน ใช้เวลาหลายเดือนหรือเป็นปีเพื่อพัฒนาเป็นตัวเต็มวัย ตัวเต็มวัยเมื่อหงายตัวจะพับตัวดีดเพื่อให้ตัวคว่ำลง ทำให้เกิดเสียง จึงเรียกว่าด้วงดีด (Click beetle)
ลำตัวด้านบนของหนอนด้วงดีด
ลำตัวด้านข้างของหนอนด้วงดีด
ส่วนขาของหนอนด้วงดีด
ปลายส่วนท้องของหนอนด้วงดีด
ตัวเต็มวัยที่พบอยู่ในดิน บริเวณพื้นที่ปลูก
ข้อมูลและภาพหนอนด้วงดีด :
กลุ่มงานอนุกรมวิธานแมลง กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช และ ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์
กลุ่มงานอนุกรมวิธานแมลง กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช และ ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์
Insect Pests of Maize, A guide for field identification, CIMMYT. 1987.