ระบาดช่วงหน้าแล้งในพื้นที่ที่ไม่มีพืชอาหารชนิดอื่น
ทำลายข้าวโพดได้ตั้งแต่ระยะหลังปลูก จนถึงใกล้เก็บเกี่ยว
ทำลายข้าวโพดได้ตั้งแต่ระยะหลังปลูก จนถึงใกล้เก็บเกี่ยว
ส่วน #หนูท้องขาว #หนูหริ่งนาหางสั้น จะปีนต้นข้าวโพดเพื่อขึ้นไปแทะกินเมล็ดในฝัก
เมื่อพบร่องรอย รูหนู หรือ มีการทำลายเกิดขึ้น สามารถป้องกันกำจัดโดยใช้กรงดัก หรือกับดัก ร่วมกับการใช้เหยื่อพิษซิงค์ฟอสไฟด์ ผสมกับเมล็ดพืช (ปลายข้าว รำข้าว เมล็ดข้าวโพดป่น) อัตรา สาร 1 กก. ผสมกับเมล็ดพืช 100 กก. วางเหยื่อพิษจุดละ 1 ช้อนชา โดยให้ใช้แกลบใหม่ รองพื้น 1 กำมือ และกลบเหยื่อพิษ 1 กำมือ แต่ละจุด ห่างกัน 5-10 เมตร #ซิงค์ฟอสไฟด์เป็นเหยื่อพิษที่ออกฤทธิ์เร็ว หนูจะเข็ดขยาด #ไม่ควรใช้เกิน 1 ครั้ง ต่อฤดู
หลังจากนั้น ให้ใช้เหยื่อพิษสำเร็จรูปที่ออกฤทธิ์ช้า (โฟลคูมาเฟน โบรมาดิโอโลน หรือ ไดฟิทิอาโลน) วางจุดละ 5-10 ก้อน ห่างกัน 10-20 เมตร เพื่อกำจัดประชากรหนูที่เหลือจากสารออกฤทธิ์เร็ว