24 พฤศจิกายน 2553

โรคราแป้ง ในถั่วเขียว

เกษตรกรที่ปลูกถั่วเขียวในช่วงหน้าแล้ง ให้หมั่นตรวจแปลงเพื่อติดตามการระบาดของโรคราแป้ง
ซึ่งบางพื้นที่เริ่มพบการระบาดของโรคในถั่วเขียวที่มีอายุประมาณเกือบหนึ่งเดือน

โรคราแป้งเกิดจากเชื้อรา Oidium sp. ระบาดในสภาพอากาศที่แห้ง และเย็น ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์

โรคราแป้ง จะเกิดที่ใบล่างๆ ก่อน ระยะแรกจะเห็นสปอร์สีขาวคล้ายผงแป้งบนใบ ระยะต่อมา ใบจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง และใบแห้งในที่สุด ถ้าถั่วเขียวเป็นโรคระยะออกดอกและติดฝัก จะทำให้ต้นแคระแกร็น ติดฝักน้อย ฝักและเมล็ดมีขนาดเล็ก

การพ่นด้วยสารเบโนมิล (benomyl 50% WP) อัตรา 15-20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร เมื่อถั่วเขียวอายุ 30 วัน และพ่นซ้ำอีกทุก 10 วัน รวม 3 ครั้ง สามารถป้องกันกำจัดโรคราแป้งได้


แปลงปลูกถั่วเขียวพันธุ์ชัยนาท 36


ราแป้งเริ่มทำลายที่ใบเลี้ยง




โครงสร้างของเชื้อ Oidium sp.

ลักษณะสปอร์ของเชื้อ Oidium sp.
















                       


3 ความคิดเห็น:

  1. พี่ครับขอบคุณมากครับ รูปของเชื้อ Oidium sp. มีประโยชน์กับผมมากครับ ตอนนี้ผมกับลังเพาะเชื้อนี้อยู่ พี่มีรูปลักษณะของเส้นใยมันบนอาหารเลี้ยงเชื้อรึป่าวครับ ผมอยากเห็น ขอบคุณมากครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. สวัสดีค่ะ คุณ Sarawut
      เชื้อรา Oidium sp. จัดเป็น obligate parasite หมายความว่าเชื้อสามารถจริญอยู่บนพืชอาศัย (host)ที่มีชีวิต ไม่สามารถเจริญบนอาหารเลี้ยงเชื้อ ภาพเชื้อในบทความนี้ เขี่ยมาจากใบถั่วเขียวที่เป็นโรคค่ะ

      ลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ11 กันยายน 2558 เวลา 20:37

    มีวิธีเพาะเลี้ยง เชื้อ Oidium Sp มั้ย คะ

    ตอบลบ

เนื้อหา