โรคเหี่ยวเขียวของแคนตาลูป และ แตง เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Erwinia tracheiphila
อาการเริ่มแรก จะสังเกตเห็นใบที่อยู่ส่วนยอดของเถาเฉา ใบอ่อน ห่อลง ต่อมาเมื่อเป็นมากขึ้นก็จะลุกลามไปยังใบอื่น ๆ ในที่สุดก็จะเหี่ยวฟุบลงทั้งต้นหรือทั้งเถาอย่างรวดเร็ว ในสภาพที่มีลมพัดแรง ทำให้ต้นแคนตาลูปเกิดแผลจากการเสียดสีของเถากับเชือกพยุง ก็เป็นช่องทางให้เชื้อเข้าทำลายได้ง่ายขึ้น
วิธีตรวจสอบโรคเหี่ยวว่าเกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือไม่ ให้ใช้มีดที่คมตัดโคนลำต้นแคนตาลูป ให้ขาดออกจากกัน จากนั้น นำส่วนปลายทั้งสองด้านมาแตะกันเบาๆ ค่อยๆ แยกปลายออกจากัน จะเห็นเส้นเมือกของเชื้อแบคทีเรีย ระหว่างปลายทั้งสองด้าน (ภาพที่ 3)
การแพร่ระบาดจากต้นสู่ต้นในแปลงเกิดจาก แมลงจำพวกด้วงที่กัดกินต้นเป็นโรค แล้วไปกัดกินต้นอื่น ๆ ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ต้นพืช
การควบคุมด้วงเต่า โดยการพ่นสารเคมี เช่น คาร์บาริล จะช่วยลดการระบาดของโรค นอกจากนี้เมื่อพบต้นเป็นโรค ให้ถอนไปทำลายนอกแปลงปลูก โรยปูนขาวลงในหลุมที่เป็นโรค ป้องกันกำจัดโรคในแปลงด้วยการพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชประเภทสารประกอบทองแดง เช่น คอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์ นอกจากนี้ป้องกันการแพร่เชื้อโรคโดยฆ่าเชื้ออุปกรณ์ที่ใช้ในแปลง
ภาพที่ 1 อาการเริ่มแรก ใบเฉา อ่อนลง
ภาพที่ 2 ต้นแคนตาลูปเหี่ยวทั้งต้น
ภาพที่ 3 วิธีการวินิจฉัยโรคเหี่ยวเขียว
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น