7 ตุลาคม 2553

โรคราน้ำค้างของข้าวโพด

จนถึงปัจจุบัน โรคราน้ำค้าง หรือ โรคใบลาย ยังเป็นโรคที่มีความสำคัญที่สุดของข้าวโพด โรคราน้ำค้างจะระบาดรุนแรงมากเมื่อมีสภาพแวดล้อมเหมาะสม โดยเฉพาะในพันธุ์อ่อนแอต่อโรคและได้รับเชื้อขณะที่ต้นข้าวโพดยังเล็ก ทำให้ผลผลิตเสียหายถึง 100 เปอร์เซนต์
ข้าวโพดหวานและข้าวโพดเทียนมีความอ่อนแอต่อโรคมาก ในข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้มีการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดให้มีความต้านทานต่อโรค แนะนำให้เกษตรปลูก เช่น  พันธุ์ลูกผสมนครสวรรค์ 3

ในแหล่งที่โรคราน้ำค้างระบาดไม่รุนแรง สภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูงเนื่องจากมีฝนตกชุกหนาแน่น มีผลทำให้โรคราน้ำค้างระบาดรุนแรงมากขึ้น แม้ว่าจะไม่มีการปลูกเชื้อในแปลงทดสอบ การปลูกข้าวโพดหวานซึ่งมีความอ่อนแอต่อโรคสามารถเป็นแหล่งแพร่เชื้อ (source of inoculum)ให้กับข้าวโพดที่ปลูกในบริเวณเดียวกัน ทำให้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นโรคมากขึ้น


ภาพที่ 1


ภาพที่ 2
ภาพที่ 1 และ ภาพที่2 อาการของโรคราน้ำค้าง (typical symptom)เกิดเป็นแถบสีขาว เขียวอ่อนหรือเหลืองอ่อนตามความยาวของใบ แถบดังกล่าวอาจยาวติดต่อกันไปหรือขาดเป็นช่วง


ภาพที่ 3 เมื่อเชื้อเข้าทำลายตั้งแต่ต้นเล็ก จะพบลักษณะอาการเป็นปื้นสีเหลืองกือบทั้งใบ หรือใบของส่วนยอดมีสีเหลืองทั้งใบ


ภาพที่ 4


ภาพที่ 5
ภาพที่ 4 และ ภาพที่ 5 ในตอนเช้าจะเห็นผงสีขาวซึ่งเป็นเส้นใยและสปอร์ของเชื้อทั้งบนใบและใต้ใบ


ภาพที่ 6 เมื่อเขี่ยผงสีขาวจากใบมาตรวจสอบ พบ cornidia จำนวนมาก ในภาพ cornidia งอก สร้าง germ tube


ภาพที่ 7 ต้นเป็นโรค


ภาพที่ 8 อาการเริ่มแรกของโรคใบไหม้แผลใหญ่ที่มีลักษณะเป็นแผลสีเหลือง เกิดบนใบที่เป็นโรคราน้ำค้าง


ภาพที่ 9 ในสภาพที่มีการระบาดของโรคตามธรรมชาติ ข้าวโพดลูกผสมพันธุ์การค้าเป็นโรครุนแรง ไม่สร้างเกสรตัวผู้และฝัก (แถวซ้าย)
ข้าวโพดลูกผสม NSX062006 ต้านทานต่อโรคราน้ำค้าง (แถวขวา)


ภาพที่ 10 ในสภาพที่มีการระบาดตามธรรมชาติ ข้าวโพดสายพันธุ์แท้ตากฟ้า 1 ต้านทานต่อโรค (แถวซ้าย)
เปรียบเทียบกับข้าวโพดสายพันธุ์แท้ที่อ่อนแอต่อโรค (แถวขวา)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เนื้อหา