6 มีนาคม 2561

การจัดการวันปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อลดผลกระทบจากภัยแล้ง

ปัจจุบันสภาพภูมิอากาศมีความแปรปรวน บางปีฝนมักจะมาล่าช้ากว่าปกติ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กว่า 98% ปลูกโดยอาศัยน้ำฝน เมื่อกระทบแล้งย่อมมีผลต่อการให้ผลผลิตซึ่งความเสียหายขึ้นกับระยะการเจริญเติบโตของข้าวโพดในช่วงที่ขาดน้ำ

เกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดที่ปลูกต้นฤดูฝน  มักได้รับความเสียหายจากภาวะฝนทิ้งช่วงยาวนาน   โดยเฉพาะหากฝนทิ้งช่วงขณะข้าวโพดอยู่ในระยะออกดอกและสะสมน้ำหนักเมล็ด (เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม) จะเกิดความเสียหายมาก


ข้าวโพดที่ปลูกต้นฤดูฝน ปี 2557 (ปลูกต้นเดือนพฤษภาคม) ณ บ้านซับตะเคียน ต.สุขสำราญ อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ ได้รับความเสียหายจากภาวะฝนทิ้งช่วงยาวนาน ช่วงข้าวโพดอยู่ในระยะออกดอกและสะสมน้ำหนักเมล็ด

ปี 2562 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลายพื้นที่ ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง

ผลของการขาดน้ำในแต่ละระยะการเจริญเติบโต
Arnon (1974)  พบว่า
  • หากข้าวโพดขาดน้ำในช่วงระยะเจริญเติบโตทางลำต้นและใบก่อนที่จะออกดอกตัวผู้  ผลผลิตจะลดลง 25 %
  • หากข้าวโพดขาดน้ำในช่วงตั้งแต่ออกดอกตัวผู้  จนกระทั่งเริ่มสร้างเมล็ด  ผลผลิตจะลดลง 50 %
  • หากข้าวโพดขาดน้ำในช่วงหลังจากระยะสร้างเมล็ดสมบูรณ์ ผลผลิตจะลดลง 21 %
Grudloyma et al. (2005) รายงานว่า
  • หากข้าวโพดขาดน้ำในช่วงออกดอก  เป็นระยะเวลานาน 2 สัปดาห์ ผลผลิตจะลดลง 53 %

“ การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในช่วงวันปลูกที่เหมาะสม สามารถลดความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายต่อการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ”

วิเคราะห์ช่วงวันปลูกที่เหมาะสมเพื่อวางแผนการผลิตได้อย่างไร ?
 ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์และการคำนวณ
  • ค่าสัมประสิทธิ์พืช (Kc) ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (1)
  • ข้อมูลสภาพภูมิอากาศในแหล่งปลูก (2)
  • คำนวณปริมาณการใช้น้ำของพืชโดยอาศัยข้อมูลภูมิอากาศ (3)
ปริมาณการใช้น้ำของข้าวโพดในแต่ระยะการเจริญเติบโต

กรณีศึกษา : การวิเคราะห์ช่วงวันปลูกที่เหมาะสมสำหรับการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ จากข้อมูลน้ำฝนและปริมาณความต้องการน้ำของข้าวโพดในแต่ละระยะการเจริญเติบโต






คำแนะนำช่วงวันปลูกที่เหมาะสมในพื้นที่ จ.นครสวรรค์
ปลูกปลายฤดูฝน (ปลายเดือนกรกฎาคม-กลางเดือนสิงหาคม)
ข้าวโพดได้รับน้ำฝนเพียงพอแก่ความต้องการตลอดฤดูปลูก แต่ให้ระวังน้ำท่วมขัง ควรทำร่องระบายน้ำ และระวังต้น  หักล้ม  เนื่องจากพายุลมแรง ควรเลือกใช้พันธุ์ที่มีลำต้นแข็งแรง

ปลูกต้นฤดูฝน
มีโอกาสเสี่ยงที่จะได้รับความเสียหายจากภาวะฝนทิ้งช่วงในช่วงเดือนกรกฎาคมและปริมาณน้ำฝนไม่เพียงพอตลอดฤดูปลูก ส่งผลกระทบต่อการให้ผลผลิตอย่างรุนแรง  กรณีที่ี่ฝนทิ้งช่วงยาวนานอาจต้องไถทิ้งและปลูกใหม่


(1) ส่วนการใช้น้ำชลประทาน สำนักอุทุกวิทยาและบริหารน้ำ กรมชลประทาน (2554)
(2) สถานีอุตุนิยมวิทยานครสวรรค์ (ตากฟ้า)
(3) Blaney-Criddle (FAO, 1992)

เอกสารอ้างอิง
Arnon, L.  1974.  Mineral Nutrition on Maize.  International Potash Institute. Werder AG, Switzerland, 452 P.
Grudloyma, P., N. Kumlar, and S. Prasitwatanaseri.  2005. Performance of Promising Tropical
Late Yellow Maize Hybrids under Drought and Low Nitrogen Conditions. Pages 112116. In : Maize Adaptation to Marginal Environments. March 6-9, 2005, Pak Chong, Nakhon Ratchasima, Thailand

แหล่งข้อมูล : ดร.ศุภกาญจน์ ล้วนมณี (2559) ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์  สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน กรมวิชาการเกษตร

เนื้อหา