5 ธันวาคม 2565

สารคดีเฉลิมพระเกียรติ ในหลวงรัชกาลที่ 9

ตอนที่1 พลังแผ่นดิน

https://youtu.be/A3Z1jSB9V-4

ตอนที่2 จากน้ำพระราชหฤทัย กลายเป็นสายฝนหลวงสู่แผ่นดิน

https://youtu.be/amnzD2SKxzc

ตอนที่3 การเสด็จพระราชสมภพ

https://youtu.be/cGrjzMe9RPQ

ตอนที่4 การศึกษาเมื่อทรงเยาว์วัย

https://youtu.be/K8mIwu_PpU0

ตอนที่5 ครอบครัวอันแสนอบอุ่น

https://youtu.be/JULEz6AWLyQ

ตอนที่6 แสงสว่างแห่งพระอัจฉริยภาพ

https://youtu.be/Zec-rw2zDGM

ตอนที่7 การเสด็จทรงแก้ปัญหาประชาชน

https://youtu.be/W-ChGwHJCZI

ตอนที่8 ทรงบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ราษฎร

https://youtu.be/bu4sD9ilsws

ตอนที่9 พระอัจฉริยภาพอันลึกซึ้ง

https://youtu.be/HsKc0WW8FDY

ตอนที่10 ฝ่าพระบาททรงอยู่เคียงข้างพสกนิกรเสมอ

https://youtu.be/EarhobbS2is

ตอนที่11 พระราชทานทุนการศึกษา

https://youtu.be/Yq3ttB3C2Hc

ตอนที่12 พระราชทานปริญญาบัตร

https://youtu.be/6AHc4tUCjLc

ตอนที่13 สายธารพระเมตตาสู่พื้นที่ห่างไกล

https://youtu.be/LBr-MQzqdnA

ตอนที่14 พระราชหฤทัยความเป็นครู

https://youtu.be/wPPGr1Tp_ZY

ตอนที่15 พระเมตตาด้านการแพทย์และการสาธารณสุข

https://youtu.be/J12bc_K0_E0

ตอนที่16 ทรงดูแลราษฎรประดุจลูกในอุทร

https://youtu.be/VwQ4JA7Bwno

ตอนที่17 สองพระหัตถ์เพื่อราษฎร

https://youtu.be/5mB7e3-X9lo

ตอนที่18 สายธารพระเมตตาประจักษ์แก่สายตานานาชาติ

https://youtu.be/69hBxx2qbr0

ตอนที่19 อัครศาสนูปภัมภก

https://youtu.be/FVnOtmSlLiY

ตอนที่20 ทรงฟื้นฟูพระพุทธศาสนา

https://youtu.be/uFcAs3AYV0k

ตอนที่21 พระบรมราชูปถัมภ์ต่อทุกศาสนา

https://youtu.be/hTSHdS-QbNc

ตอนที่22 พระก่อเกื้อรังสรรค์มรดกไทย

https://youtu.be/8jl2Et1I9Jg

ตอนที่23 พระก่อเกื้อรักษามรดกไทย

https://youtu.be/u63vj-FUDmg

ตอนที่24 บทเพลงพระราชนิพนธ์สายธารแห่งความผูกพัน

https://youtu.be/Kg6LdkuT_dU

ตอนที่25 พระปรีชาญาณเชิงช่าง

https://youtu.be/m3vWpvSRHnE

ตอนที่26 พระมหากษัตริย์นักกีฬา

https://youtu.be/YWiLNWH1fAM

ตอนที่27 พระอัจฉริยภาพด้านภาษา

https://youtu.be/_Qr2IlbKJIg

ตอนที่28 พระมหากษัตริย์กษัตริย์ นักการเกษตร

https://youtu.be/oeya9K55ROQ

ตอนที่29 สวนจิตรลดา แปลงนาเพื่อประชาชน

https://youtu.be/E6O0iXaz9HE

ตอนที่30 โคนม มรดกจากพระองค์

https://youtu.be/DWkoAzGJs6o

ตอนที่31 เกษตรทฤษฎีใหม่

https://youtu.be/j5HJd45o0fQ

ตอนที่32 ปลูกป่าในใจคน

https://youtu.be/nsHZq71WIos

ตอนที่33 ทรงฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรม

https://youtu.be/dZ9EoW8_lmU

ตอนที่34 ปลูกไม้ 3 อย่าง ให้ประโยชน์ 4 อย่าง ความผูกพันระหว่างมนุษย์กับป่าไม้

https://youtu.be/f25Zpu-ngjo

ตอนที่35 ทรงฟื้นฟูป่าให้ฟื้นชีวิต

https://youtu.be/TfUI1LOw2Rk

ตอนที่36 ป่าชายเลนในพระราชดำริ

https://youtu.be/M7SMVHjCLy4

ตอนที่37 หญ้าแฝกจากพระราชดำริ

https://youtu.be/913sMao2xz8

ตอนที่38 พืชพรรณของแผ่นดิน

https://youtu.be/QOuPbDvX6LA

ตอนที่39 พระปรีชาญานด้านความมั่นคงทางอาหาร

https://youtu.be/J3l8jph01Ag

ตอนที่40 พระองค์ผู้ทรงเป็นปราชญ์แห่งธรรมชาติ

https://youtu.be/kgzvycpXc6I

ตอนที่41 ทรงหล่อเลี้ยงสายนทีบนที่สูง

https://youtu.be/kEoDk66GcnI

ตอนที่42 ทรงพัฒนาสายนทีหล่อเลี้ยงพื้นที่อีสาน

https://youtu.be/zbp7rTE9mfE

ตอนที่43  สายนที 4 น้ำ 3 รส จากน้ำพระราชหฤทัย

https://youtu.be/EsCGWgGeePE

ตอนที่44 ทรงบรรเทาอุทกภัยลุ่มน้ำเจ้าพระยา

https://youtu.be/gQig0u4qqpI

ตอนที่45 “ธรรมชาติแก้ธรรมชาติ” หลักการอันชาญฉลาดในการบำบัดน้ำเสีย

https://youtu.be/XLD0E1Gpsoc

ตอนที่46 พระปรีชาญาณด้านดิน

https://youtu.be/lxH8AQc7TKc

ตอนที่47 พระอัจฉริยภาพในการแก้ปัญหาดิน

https://youtu.be/ekQ46dRJS3U

ตอนที่48 ศูนย์รวมใจของปวงชน

https://youtu.be/pzkkpl_iBDY

ตอนที่49 พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์

https://youtu.be/3AEpHC8xrkQ

ตอนที่50 พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์

https://youtu.be/o7kDRkPvk_w

ตอนที่51 น้ำพระราชหฤทัยแผ่ไพศาลสู่เลโซโธ

https://youtu.be/_-K34q9gmdw

ตอนที่52 น้ำพระราชหฤทัยแผ่ไพศาลสู่นานามิตรประเทศ

https://youtu.be/7M3l7VC_BgM

ตอนที่53 ทรงสานสายสัมพันธ์อันแผ่ไพศาล

https://youtu.be/eYEs42xHtF4

ตอนที่54 รอยทางที่พระองค์ทรงพลิกฟื้น

https://youtu.be/ZMI8oVbBgrM

ตอนที่55 พระอัจฉริยภาพด้านการคมนาคมกรุงเทพมหานคร

https://youtu.be/5jUgXHJHivM

ตอนที่56 พระปรีชาญาณด้านพลังงาน

https://youtu.be/ib5G5vopjmk

ตอนที่57 กังหันลมพระอัจฉริยภาพด้านพลังงาน

https://youtu.be/TDh5ME2-8PA

ตอนที่58 แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ทางรอดของมวลมนุษยชาติ

https://youtu.be/hVdmDvguy0U

ตอนที่59 เทคโนโลยีสารสนเทศ อุตุนิยมวิทยา

https://youtu.be/JSl-q6gyE1E

ตอนที่60 เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร

https://youtu.be/PW81kEF7ouI

ตอนที่61 เทคโนโลยีสารสนเทศคอมพิวเตอร์

https://youtu.be/0WUT3pqx-h0

ตอนที่62 อภิมหาบุคคลแห่งประวัติศาสตร์โลก

https://youtu.be/MyC9QWRSghw

5 ตุลาคม 2563

มันสำปะหลังอายุเก็บเกี่ยวสั้น พันธุ์ระยอง 15

         " ระยอง 15 "  (OMR45-27-76) ผลงานวิจัยของศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง เป็นมันสำปะหลังอายุเก็บเกี่ยวสั้น ได้จากการผสมเปิดของมันสำปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ซึ่งเป็นพันธุ์แม่ที่ให้ผลผลิตสูงและปรับตัวได้ดีกับสภาพแวดล้อม ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง ในปี 2545 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกพันธุ์มันสำปะหลังที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้นไม่เกิน 8 เดือน และให้ผลผลิตแป้งสูงกว่าพันธุ์ระยอง 5  ระยอง 7 และระยอง 72 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ดำเนินการทดลองตั้งแต่ปี 2545-2558 จำนวน 40 แปลงทดลอง ในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง 17 จังหวัด ได้แก่จังหวัดระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ชัยนาท นครสวรรค์ ลพบุรี พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย ขอนแก่น สกลนคร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด มุกดาหาร อุบลราชธานี นครราชสีมา

การเก็บเกี่ยวที่อายุ 8 เดือน มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 15 ให้ผลผลิตหัวสดสูง เฉลี่ย 4,632 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ระยอง 5  ระยอง 7  ระยอง 72 และเกษตรศาสตร์ 50 คิดเป็นร้อยละ 10  18  5 และ 4 ตามลำดับ นอกจากนี้ พันธุ์ระยอง 15 มีเปอร์เซ็นต์แป้งสูง เฉลี่ย 29.2 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าพันธุ์ระยอง 5  ระยอง 7 และระยอง 72 คิดเป็นร้อยละ 4  1 และ 5 ตามลำดับ ระยอง 15 ให้ผลผลิตแป้งสูงเฉลี่ย 1,355 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าพันธุ์ระยอง 5  ระยอง 7  ระยอง 72 และเกษตรศาสตร์ 50 คิดเป็นร้อยละ 13  18  10 และ 2 ตามลำดับ 

จากการสำรวจการเข้าทำลายของแมลงศัตรูมันสำปะหลัง ภายใต้สภาพไร่ในช่วงฤดูแล้ง พบว่า มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 15 มีการเข้าทำลายของไรแดงน้อยกว่าพันธุ์ระยอง 5 ระยอง 7 และระยอง 72 และทุกพันธุ์มีการเข้าทำลายของเพลี้ยแป้งและแมลงหวี่ขาวเล็กน้อย การประเมินความต้านทานโรคใบไหม้ภายใต้สภาพโรงเรือน พบว่า มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 15  เป็นพันธุ์ที่ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคใบไหม้ เช่นเดียวกับพันธุ์ระยอง 5  ระยอง 72  ระยอง 9 และเกษตรศาสตร์ 50       

การผลิตมันสำปะหลังในสภาพการจัดการระบบการปลูกพืชที่ต้องการใช้พื้นที่ปลูกพืชหมุนเวียน หรือ หากเกษตรกรต้องการมีรายได้ที่เร็วขึ้น การปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 15 ซึ่งมีผลผลิตแป้งสูง อายุการเก็บเกี่ยวสั้นที่ 8 เดือน จึงเป็นทางเลือกหนึ่งให้กับเกษตรกร

ผลงานวิจัย มันสำปะหลังอายุเก็บเกี่ยวสั้นพันธุ์ระยอง 15 ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น ประจำปี 2562 ระดับดี สาขาปรับปรุงพันธุ์ จากกรมวิชาการเกษตร เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2563

ลักษณะของมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 15



ทรงต้นสูง ระดับการแตกกิ่ง : 0-1 ระดับ

สีลำต้น : เขียวเงิน

สียอดอ่อน :เขียวอ่อน

ลักษณะแฉกที่อยู่กลางใบ : ใบหอก
สีก้านใบ : สีเขียวอมแดง

สีเปลือกหัว : น้ำตาล
สีเนื้อหัว : ขาว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง เลขที่ 320 ถนนสุขุมวิท ต.ห้วยโป่ง อ.เมือง จ.ระยอง 21150 โทร 0-3868-1515 โทรสาร 0-3868-1514 
E-mail : ryfcrc9989@gmail.com
Facebook : ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ข้อมูลและภาพ : ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง

30 เมษายน 2563

โรคใบจุดกราฟิโอล่าในอินทผลัม

โรคใบจุดกราฟิโอล่า (Graphiola leaf spot หรือ False smut ) เกิดจากเชื้อรา Graphiola phoenicis พบระบาดทั่วไปในแหล่งที่มีการปลูกอินผลัม

เชื้อราเข้าทำลายอินทผลัมในสภาพที่มีความชื้นสูง ลักษณะอาการของโรคสังเกตได้ง่าย เกิดกับใบล่าง อาการเริ่มแรกเกิดจุดสีเหลืองหรือสีน้ำตาลขนาดเล็ก ต่อมาผิวใบปริออก เห็นโครงสร้างขยายพันธุ์ของเชื้อราสาเหตุ (sori) ที่มีลักษณะตรงส่วนฐานสีดำ คล้ายถ้วยนูนขึ้นมาบนผิวใบพืชและมีเส้นสายของสปอร์สีเหลืองอ่อน พัฒนาการของโรคตั้งแต่เชื้อเริ่มเข้าทำลายจนถึงสร้างสปอร์ ใช้เวลากว่า 10-11 เดือน

การป้องกันกำจัด ตัดใบล่างไปทำลายเพื่อลดการแพร่ระบาด แต่หากอินทผลัมแสดงอาการขาดธาตุโพแทสเซียม ไม่แนะนำให้มีการตัดใบล่างที่เป็นโรคทิ้ง จะทำให้อาการขาดธาตุรุนแรงมากขึ้น ส่งผลต่อการเจริญเติบโต

สารเคมีป้องกันกำจัดที่ใช้พ่นทางใบเพื่อป้องกันการเข้าทำลายในใบที่ยังไม่เป็นโรค เช่น ไธโอฟาเนต เมธิล, สารคอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ หรือ สารคอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์













29 เมษายน 2563

แมลงศัตรูพืชผักสวนครัว

ผักสวนครัวที่ปลูกในกระถาง หรือในสวนหลังบ้าน อาจมีแมลงรบกวน หากมีแค่เล็กๆ น้อยๆ เราใช้มือบี้ทำลายได้โดยไม่ต้องใช้สารเคมี แต่หากปลูกในพื้นที่ใหญ่ขึ้นสำหรับขาย อาจจะต้องใส่ใจดูแลมากเป็นพิเศษ พอเห็นแมลงเริ่มมารบกวน จำนวนยังไม่มาก ถ้าจัดการได้เร็ว อาจจะไม่ต้องใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลง หรือใช้เท่าที่จำเป็น ยุคนี้ต้องประหยัด ลดค่าใช้จ่าย ที่สำคัญต้องปลอดภัยทั้งคนปลูกและคนกิน หากใช้สารเคมี ให้เว้นระยะอย่างน้อย 7 วัน ก่อนเก็บผลผลิตไปขาย

สะระแหน่  : หนอนห่อใบ (Syngamia abruptalis Walker) เริ่มแรกทำลายกัดกินใบสะระแหน่ที่บริเวณผิวใบด้านใต้ใบ ต่อมาทำให้ใบขาดทะลุ  มักพบหนอนชักใย ดึงใบมาห่อหุ้มตัว








มะเขือ/มะระจีน : เพลี้ยจักจั่นฝ้าย เป็นแมลงปากดูด ดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบ ยอด เริ่มแรกทำให้ใบเหลือง ต่อมาใบไหม้ ถ้าพบอาการใบเหลืองระหว่างเส้นใบ ให้พลิกดูใต้ใบ  มักพบเพลี้ยจักจั่นหลบอยู่ตามซอกเส้นใบ เมื่อโดนรบกวนจะเคลื่อนที่ทะแยงไปด้านข้าง

หากจำเป็นต้องพ่นสารเคมี เลือกใช้ชนิดใดชนิดหนึ่ง ดังนี้  ไซเปอร์เมทริน/ไฟซาโลน  (พาร์ซอน) 6.25% อีซี/22.5% อีซี อัตรา 40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟลูไซโคลซูรอน (แอนดาลิน) 25% อีซี อัตรา 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่อพบตัวอ่อนเพลี้ยจักจั่นฝ้าย มากกว่า  1 ตัวต่อใบ พ่นซ้ำตามความจำเป็น งดพ่นก่อนเก็บผลผลิต 7 วัน







กะเพรา/โหระพา : มวนปีกแก้ว เป็นแมลงปากดูดขนาดเล็ก ตัวสีดำ ปีกใส โปร่งแสง มีจุดสีดำที่กลางปีก ทำลายพืชโดยดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้ใบกะเพรา เฉา ใบไหม้ ยอดไหม้ หากพบให้ใช้มือบี้ทำลาย




31 ตุลาคม 2561

แมลงหวี่ขาวยาสูบ พาหะโรคใบด่างมันสำปะหลัง

แมลงหวี่ขาวยาสูบ
🔹ชื่อสามัญ Tobacco whitefly
🔸ชื่อวิทยาศาสตร์ Bemisia tabaci (Gennadius)
🔹อันดับ Hemiptera วงศ์ Aleyrodidae

ตัวเต็มวัยของแมลงหวี่ขาวยาสูบมีขนาดความยาว 1 มม. ปีกสีขาวและลำตัวสีเหลืองอ่อน มักพบเกาะตามใต้ใบมันสำปะหลัง วางไข่และฟักเป็นตัวอ่อนพัฒนาเป็นดักแด้และตัวเต็มวัย จนครบวงจรชีวิต หนึ่งรอบวงจรชีวิตใช้เวลาประมาณ 30 - 40 วัน ในหนึ่งปีมี 10 - 12 รุ่น เพศเมีย 1 ตัววางไข่ได้เฉลี่ย 200 ฟอง ตัวเต็มวัยเคลื่อนที่ด้วยการบิน แมลงหวี่ขาวยาสูบสามารถบินได้เป็นระยะทางประมาณ 2 - 7 กิโลเมตร/วัน ขึ้นกับแรงลม

การป้องกันกำจัด
- การใช้สารฆ่าแมลง พ่นด้วย
อิมิดาโคลพริด 70% WG อัตรา 12 กรัม/น้ำ 20 ลิตร  (กลุ่ม 4)
ไดโนทีฟูแรน 10% SL อัตรา 20 มล./น้ำ 20 ลิตร  (กลุ่ม 4)
ไทอะมีทอกแซม 25% WG อัตรา 12 กรัม/น้ำ 20 ลิตร  (กลุ่ม 4)
หรือ บูโพรเฟซีน 40% SC อัตรา 40 มล./น้ำ 20 ลิตร  (กลุ่ม 16)
- การใช้ชีววิธี
แมลงช้างปีกใส ด้วงเต่าตัวห้ำ มวนโอเรียส (Orius sp.) แตนเบียนเอ็นคาเซีย (Encarsia sp.)
- การเขตกรรม
ทำความสะอาดแปลงและบริเวณรอบๆแปลงเพื่อไม่ให้มีแหล่งที่อยู่อาศัยของแมลงหวี่ขาวยาสูบ
ฝังกลบเศษซากพืชที่ตกค้างในแปลงหรือต้นที่เป็นโรคในหลุมลึกเพื่อไม่ให้ต้นงอกออกมาเป็นแหล่งของไวรัสในแปลงปลูก
พืชอาศัยของแมลงหวี่ขาวยาสูบ
แมลงหวี่ขาวยาสูบมีพืชอาศัยมากกว่า 900 ชนิด เช่น ละหุ่ง สบู่ดำ หม่อน พืชผักสวนครัว พืชวงศ์ถั่ว วงศ์แตง วงศ์มะเขือ และวัชพืชอีกหลายชนิด

การตรวจติดตามโรคใบด่างมันสำปะหลังและแมลงพาหะ หลังจากปลูกมันสำปะหลังแล้ว
หมั่นสังเกตดูยอดอ่อนและใบมันสำปะหลังทุกสัปดาห์ว่ามีอาการของโรคหรือไม่
ตรวจดูใต้ใบว่ามีไข่ ตัวอ่อน หรือตัวเต็มวัยของแมลงหวี่ขาวยาสูบหรือไม่
หากพบแมลงหวี่ขาวยาสูบ 5 - 20 ตัว บนพืช 10-20 ต้นต่อแปลง #ให้ดำเนินการป้องกันกำจัดทันที

ข้อควรรู้
แมลงหวี่ขาวยาสูบจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นเมื่อสภาพอากาศแห้งแล้ง ฝนทิ้งช่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพแปลงที่มีพืชอาศัยต่างๆ ตลอดทั้งปี หากในแปลงมีต้นที่เป็นโรคเพียงต้นเดียวแมลงหวี่ขาวยาสูบสามารถแพร่กระจายโรคไปยังต้นอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดโรคระบาดเป็นวงกว้าง 
ดังนั้นการสำรวจติดตามและป้องกันกำจัดแมลงหวี่ขาวยาสูบจึงเป็นหัวใจสำคัญในการสกัดกั้นการแพร่กระจายของโรคใบด่างมันสำปะหลัง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร
02-5799588 หรือ 02-5798516

ข้อมูล : กรมวิชาการเกษตร

โรคใบด่างมันสำปะหลัง

 โรคใบด่างมันสำปะหลัง เกิดจากเชื้อไวรัส ในวงศ์ Geminiridae สกุล Begomovirus ปัจจุบันมีรายงานทั้งหมด 10ชนิด พบในทวีปแอฟริกา 8 ชนิด และในทวีปเอเชีย 2 ชนิด ได้แก่ Indian cassava mosaic virus (ICMV) พบในประเทศอินเดีย และ Sri Lankan cassava mosaic virus (SLCMV) พบในประเทศศรีลังกา อินเดีย เวียดนาม และกัมพูชา
ลักษณะอาการของโรค
ใบด่างและใบหงิก เสียรูปทรง อาการด่างมีหลายแบบ เช่น ด่างเขียวซีดสลับเขียวเข้ม ด่างเหลือสลับเขียว ใบหงิก หรือ หงิกเหลือง ใบย่อยบิดเบี้ยวหงิกงอ โค้งเสียรูปทรง ใบอ่อนและใบที่เจริญใหม่มีขนาดเล็กลง ยอดหงิก ต้นแคระแกร็น




แมลงพาหะ
แมลงหวี่ขาวยาสูบ (tobacco whitefly)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bemisia tabaci (Gennadius)


พืชอาศัยของเชื้อไวรัสสาเหตุโรค
•มันสำปะหลัง ละหุ่ง สบู่ดำ
•พืชวงศ์เปล้า Euphorbiaceae

พืชอาศัยของแมลงหวี่ขาวยาสูบ
•พืชวงศ์ถั่ว
•พืชวงศ์แตง
•พืชวงศ์ Solanaceae เช่น มะเขือ พริก ยาสูบ
•กะเพรา โหระพา ผักชีฝรั่ง สะระแหน่ แมงลัก ยี่หร่า

เฝ้าระวังและป้องกันท่อนพันธุ์ติดโรคใบด่างมันสำปะหลัง
- ห้ามใช้ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังที่เก็บจากต้นที่เป็นโรคใบด่างมันสำปะหลังมาปลูกใหม่ จะทำให้เกิดโรคใบด่างระบาดอย่างรุนแรงในแปลงตั้งแต่ระยะ 2 เดือนแรก ต้นมันสำปะหลังแคระแกร็น ใบด่างหงิกงอ ซึ่งจะทำให้ผลผลิตเสียหาย 80-100 %

- หมั่นเดินตรวจแปลงตั้งแต่เริ่มปลูกทุกๆ 2 สัปดาห์ 
หากพบอาการต้องสงสัย เช่น ใบหงิก ใบด่าง  ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตร หรือ กรมส่งเสริมการเกษตร ในพื้นที่มาวินิจฉัยโรค เจ้าหน้าที่จะขุดถอนทำลายต้นต้องสงสัยออกจากแปลง นำไปฝังกลบ พ่นต้นที่เหลือในแปลงและแปลงข้างเคียงด้วยสารฆ่าแมลงเพื่อทำลายแมลงหวี่ขาวยาสูบ 

- ติดตามการเกิดโรคใบด่างในแปลงอย่างต่อเนื่องทุก 2 สัปดาห์

สายด่วนเฝ้าระวังโรคใบด่างมันสำปะหลัง 
กลุ่มงานเฝ้าระวังศัตรูพืชกักกัน กลุ่มวิจัยการกักกันพืช
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร
โทร. 0–2579–8516 หรือ 061–415–2517
อีเมล์ ppspq@doa.in.th

ข้อมูล : กรมวิชาการเกษตร

24 กันยายน 2561

โรคราสนิมอ้อย

โรคราสนิมที่มีรายงานการเข้าทำลายอ้อย มี 4 ชนิด

 1) Brown rust เกิดจากเชื้อรา Puccinia melanocephala พบได้ทั่วไป ในแหล่งปลูกอ้อยที่สำคัญของโลก เช่น อินเดีย แอฟริกา ออสเตรเลีย จีน ฟิลิปปินส์ ทวีปอเมริกา ด้านตะวันตกของฟลอริดา กัวเตมาลา นคารากัว คอสตาริกา เอลซาวาดอร์ ปานามา เมกซิโกและ บราซิล

2) Orange rust เกิดจากเชื้อรา P. kuehnii  ระบาดในเอเชีย และ ออสเตรเลีย

3) Ash rust เกิดจากเชื้อรา P. sparganioides มีรายงานการระบาดใน สวาซีแลนด์ แอฟริกาใต้

4) Tawny rust เกิดจากเชื้อรา Macruropyxis fulva sp. nov. ซึ่งเป็นเชื้อราสนิมชนิดใหม่ที่มีรายงานเข้าทำลายอ้อยในแอฟริกาใต้

อาจพบการทำลายของราสนิมชนิด Brown rust และ Orange rust ปะปนกันบนใบอ้อย ลักษณะสำคัญที่ใช้จำแนกความแตกต่างของเชื้อราสาเหตุทั้ง 2 สปีชีส์ คือ ลักษณะสัณฐาน และสี ของ uredinia  paraphyses urediniospores telia และ teliospores  ลักษณะตุ่มสปอร์ (pustules) บนใบพืช pustules ของ P. kuehnii มักจะมีสีส้ม ส่วน pustules ของ  P. melanocephala จะมีสีน้ำตาลเข้ม pustules ที่เกิดจากเชื้อราสนิม P. kuehnii จะสั้นและมีรูปไข่ ส่วน pustules ที่เกิดจากเชื้อรา  P. melanocephala จะยาวกว่าและแคบกว่า

ช่วงเดือนกรกฏาคม-สิงหาคม 2561 พบการระบาดของโรคราสนิมอ้อย  (Orange rust) ที่เกิดจากเชื้อรา P. kuehnii  ในอ้อยที่มีอายุ 5-6 เดือน ที่ปลูกในสภาพแปลงทดลอง ลักษณะเด่นที่ใช้ในการจำแนกสปีชีส์คือส่วนยอด (apex) ของ urediniospores มีผนังหนากว่าด้านอื่นๆ (ภาพที่ 1)

อ้อยที่เป็นโรคราสนิม ระยะแรกเกิดจุดแผลสีเหลือง ขนาดเล็ก ต่อมาแผลขยายตามความยาวของใบ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง มีสีเหลืองรอบแผล มักเกิดแผลหนาแน่นบริเวณกลางใบจนถึงปลายใบ ใต้ใบพบตุ่มสปอร์ ของเชื้อจำนวนมาก ในพันธุ์ที่อ่อนแอ ทำให้ใบไหม้ แห้ง ลำอ้อยมีขนาดเล็ก ผลผลิตลดลง 25 เปอร์เซนต์

โรคราสนิมระบาดในสภาพที่มีความชื้นสูง อุณหภูมิ 20-25 องศาเซลเซียส

การป้องกันกำจัด ปลูกพันธุ์ต้านทาน ใช้สารเคมี เช่น แมนโคเซบ โพรพิโคนาโซล


ภาพที่ 1 Urediniospore ของเชื้อรา Puccinia kuehnii 


ภาพที่ 2 ตุ่มสปอร์ (pustule) ในเนื้อเยื่อชั้นอิพิเดอร์มิส ด้านใต้ใบ

 ภาพที่ 3  ตุ่มสปอร์ (pustule) ในเนื้อเยื่อชั้นอิพิเดอร์มิส ด้านใต้ใบ

ภาพที่ 4 ลักษณะแผลของโรคราสนิม

ภาพที่ 5 โรคราสนิม ใบล่างไหม้บริเวณปลายใบ

เนื้อหา