19 กันยายน 2555
การจัดการธาตุอาหารที่เหมาะสมเพื่อการผลิตอ้อยปลูก ในดินเหนียวภาคกลาง
ดาวรุ่ง คงเทียน และคณะ
อ้อยเป็นพืชไร่เศรษฐกิจที่มีความสำคัญ นอกจากจะเป็นพืชอาหารและอุตสาหกรรมอื่นๆ แล้วยังมีศักยภาพสูงเป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน โดยสามารถนำมาใช้ในการผลิตเอทานอลได้ทั้งรูปน้ำอ้อยสด กากน้ำตาล และมวลชีวภาพ (ลิกโนเซลลูโลส)
ในปี 2552/53 ภาคกลางมีพื้นที่ปลูกอ้อยประมาณ 2,042,227 ไร่ และภาคเหนือประมาณ 1,252,193 ไร่ ผลผลิตอ้อย เฉลี่ย 10.0 ตัน/ไร่ (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร,2551) จากแนวนโยบายการพัฒนาอ้อยที่ให้รักษาพื้นที่ปลูก 7.0 ล้านไร่ และเพิ่มผลผลิตต่อไร่จาก 9.7 ตัน ในปี 2550 เป็น 15 ตัน ในปี 2555 ดังนั้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยให้มีศักยภาพสูงขึ้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในเขตที่มีความหลากหลายทั้งสภาพภูมิอากาศ (ปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิ) และชนิดของดิน (เนื้อดิน ความเป็นกรด-ด่างของดิน และปริมาณธาตุอาหารในดิน)
เพื่อแก้ปัญหาการผลิตอ้อยในเขตภาคกลาง ที่ดินปลูกอ้อยส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงแต่ก็มีปัญหาด้านกายภาพและเคมีบางประการ ผู้วิจัยจึงได้ดำเนินการศึกษาการจัดการธาตุอาหารที่เหมาะสมในการเพิ่มผลผลิตอ้อยในสองชุดดิน ได้แก่ ชุดดินลำนารายณ์ และ ชุดดินลพบุรี เพื่อเป็นคำแนะนำแก่เกษตรกรที่ปลูกอ้อยให้จัดการดินที่ถูกต้องเหมาะสมและได้ผลผลิตสูง
ชุดดินลำนารายณ์ เป็นดินที่มีเนื้อดินเหนียวผสมกับทรายแป้ง เกิดจากการสลายตัวของหิน Basalt, Limestone, Andesite มีความลาดชัน 3-6 เปอร์เซ็นต์ ระบายน้ำดี น้ำใต้ดินต่ำกว่า 1.50 เมตร มีลักษณะการผสมกับเม็ดหินปูนกับเนื้อดิน ดินบนมีสีน้ำตาลเข้ม และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลปนแดงตามความลึกของดิน มีความอุดมสมบูรณ์ดี ลึกลงไปไม่เกิน 80 เซนติเมตรพบชั้นหินต้นกำเนิดสลายผุพังเห็นได้ชัด ปฏิกิริยาดินเป็นด่าง (pH 8.0)
ภาพที่ 1 ภาพหน้าตัดชุดดินลำนารายณ์
ชุดดินลพบุรี เป็นดินเหนียวจัด ความเหนียวชนิด 2:1 (Montmorillonite) มีการระบายน้ำไม่ดี ดินบนสีดำและเปลี่ยนเป็นเทาดำและเทาตามความลึกหน้าตัดดิน มีปฏิกิริยาเป็นกรดอ่อน-ด่าง (pH 6.5-8.5) มีความอุดมสมบรูณ์และปริมาณอินทรียวัตถุสูง ศักยภาพการผลิตสูง แต่ธาตุฟอสฟอรัสถูกตรึงเอาใว้ ทำให้พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้น้อย (สถาบันวิจัยพืชไร่, 2548) จึงแนะนำการใช้ปุ๋ยแบบเฉพาะพื้นที่กับพันธุ์อ้อยที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
ภาพที่ 2 ภาพหน้าตัดชุดดินลพบุรี
ผลการศึกษา พบว่า การปลูกอ้อยในชุดดินลำนารายณ์ที่ไม่มีการปรับปรุงดิน อ้อยปลูกให้ผลผลิต 25.49 ตัน/ไร่ แต่เมื่อปรับปรุงดินด้วยผงกำมะถันอัตรา 100 กก./ไร่ อ้อยปลูกให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 27.80 ตัน/ไร่ โดยอ้อยโคลน 94-2-106 มีศักยภาพในการให้ผลผลิตในชุดดินลำนารายณ์สูงกว่าพันธุ์ LK92-11 ผลผลิตของอ้อยโคลน 94-2-106 เฉลี่ย 27.98 ตัน/ไร่ ในขณะที่ผลผลิตของพันธุ์ LK92-11 เฉลี่ย 24.31 ตัน/ไร่ การปลูกอ้อยโคลน 94-2-106 ในชุดดินลำนารายณ์ทั้งในสภาพที่ไม่ปรับปรุงดินและปรับปรุงดินด้วยผงกำมะถันอัตรา 100 กก./ไร่ ควรใส่ปุ๋ย 6-6-6 กก.N-P2O5-K2O /ไร่ ส่วนอ้อยพันธุ์ LK92-11 ควรใส่ปุ๋ย 12-6-6 กก.N-P2O5-K2O/ไร่ จึงจะคุ้มค่าต่อการลงทุน
ภาพที่ 3 การเจริญเติบโตของอ้อยโคลน 94-2-106 เปรียบเทียบกับพันธุ์ LK92-11 ที่ปลูกในดินชุดลำนารายณ์
ส่วนการปลูกอ้อยในชุดดินลพบุรีในสภาพที่ไม่ปรับปรุงดิน พบว่า อ้อยปลูกให้ผลผลิต 21.46 ตัน/ไร่ แต่เมื่อปรับปรุงดินด้วยมูลไก่แกลบอัตรา 800 กก./ไร่(น้ำหนักแห้ง) อ้อยปลูกให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 22.26 ตัน/ไร่ โดยพันธุ์ขอนแก่น 3 ให้ผลผลิต 23.74 ตัน/ไร่ มีศักยภาพในการให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ LK92-11 ซึ่งให้ผลผลิต 19.97 ตัน/ไร่ การปรับปรุงดินด้วยมูลไก่แกลบอัตรา 800 กก./ไร่(น้ำหนักแห้ง)สามารถลดการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนลงได้ โดยการปลูกอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 ในชุดดินลพบุรีที่ไม่ปรับปรุงดินควรใส่ปุ๋ย 12-6-6 กก.N-P2O5-K2O /ไร่ แต่ถ้าปรับปรุงดินด้วยมูลไก่แกลบอัตรา 800 กก./ไร่(น้ำหนักแห้ง)ควรใส่ปุ๋ย 6-6-6 กก.N-P2O5-K2O N/ไร่ ส่วนการปลูกอ้อยพันธุ์ LK92-11 ถ้าไม่ปรับปรุงดินควรใส่ปุ๋ย 18-6-6 กก.N-P2O5-K2O แต่ถ้าปรับปรุงดินด้วยมูลไก่แกลบอัตรา 800 กก./ไร่(น้ำหนักแห้ง)ควรใส่ปุ๋ย 6-6-6 กก.N-P2O5-K2O/ไร่ จึงจะคุ้มค่าต่อการลงทุน
ภาพที่ 4 อ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 ปลูกในสภาพที่มีการปรับปรุงดินด้วยมูลไก่แกลบ+ปุ๋ยเคมี 6-6-6 กก. N-P2O5-K2O ต่อไร่
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร.056-241019, email: nsfcrc@doa.in.th
27 มิถุนายน 2555
ขอเชิญเที่ยวงาน เกษตรรุ่งเรือง เมืองสี่แคว
ภาพข่าว : นายปรีชา เรืองจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ แถลงข่าวการจัดงานเกษตรรุ่งเรือง เมืองสี่แคว และให้สัมภาษณ์แก่ผู้สื่อข่าว เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2555 เวลา 09.00น. ณ ห้องประชุม สำนักงานเกษตรจังหวัดนครสวรรค์
รายละเอียดการจัดงาน เกษตรรุ่งเรือง เมืองสี่แคว
จังหวัดนครสวรรค์ กำหนดจัดงาน เกษตรรุ่งเรือง เมืองสี่แคว ประจำปี 2555
ระหว่างวันที่ 13-22 กรกฎาคม 2555
ณ บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์
เพื่อเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ผลิตผลและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่มีชื่อเสียงของอำเภอต่างๆ ในจังหวัดนครสวรรค์ และเป็นการสร้างเครือข่ายเชื่อโยงระหว่างผู้ผลิต ผู้บริโภคโดยตรง ซึ่งจะทำให้การพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม เกิดความมั่นคงและยั่งยืน ตลอดจนเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในจังหวัด อีกทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่เกษตรกรเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย
1.นิทรรศการฐานความรู้ทางการเกษตร ด้านดิน น้ำ ข้าวพืชไร่ ไม้ผล พืชผัก ประมง ปศุสัตว์ เกษตรปลอดภัย ยางพารา องค์กรเกษตรกรเข้มแข็ง ปลดหนี้ด้วยบัญชีและเศรษฐกิจพอเพียง
2.การประกวด ได้แก่ ไม้ผล พืชผัก ทำอาหารจากปลานิล ประกวดภาพถ่ายปลานิล ประกวดวาดภาพระบายสีเกี่ยวกับปลานิล ประกวดปลานิลใหญ่ (ปลาเป็น) โคพันธุ์เนื้อ
3.การประกวด ได้แก่ ไม้ผล พืชผัก ทำอาหารจากปลานิล ประกวดภาพถ่ายปลานิล ประกวดวาดภาพระบายสีเกี่ยวกับปลานิล ประกวดปลานิลใหญ่ (ปลาเป็น) โคพันธุ์เนื้อ
4.การสาธิต ได้แก่ การสาธิตสีข้าว สาธิตทำกระเป๋าจากต้นกก สาธิตการทาบกิ่ง จำหน่ายพันธุ์ไม้ผล ผลิตภัณฑ์จากปลานิล อาหารจากปลานิล การฝึกโค และการจูงโค โชว์พ่อพันธุ์โคเนื้อ แพะเนื้อ การกรีดยาง ระบายสีตุ๊กตายาง สหกรณ์สอนอาชีพ
และยังมีการจำหน่ายสินค้าทางการเกษตรที่ทางราชการส่งเสริม สนับสนุนจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านการเกษตร สหกรณ์การเกษตร รวมทั้งกลุ่ม OTOP นอกจากนี้ยังมีสินค้าอีกหลากหลายมาจำหน่าย มีมหรสพ ดนตรี มาแสดงในงานทุกคืน
ขอเชิญเกษตรกรและผู้สนใจเข้าชมงานได้ ฟรี
รายละเอียดการจัดงาน เกษตรรุ่งเรือง เมืองสี่แคว
จังหวัดนครสวรรค์ กำหนดจัดงาน เกษตรรุ่งเรือง เมืองสี่แคว ประจำปี 2555
ระหว่างวันที่ 13-22 กรกฎาคม 2555
ณ บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์
เพื่อเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ผลิตผลและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่มีชื่อเสียงของอำเภอต่างๆ ในจังหวัดนครสวรรค์ และเป็นการสร้างเครือข่ายเชื่อโยงระหว่างผู้ผลิต ผู้บริโภคโดยตรง ซึ่งจะทำให้การพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม เกิดความมั่นคงและยั่งยืน ตลอดจนเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในจังหวัด อีกทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่เกษตรกรเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย
1.นิทรรศการฐานความรู้ทางการเกษตร ด้านดิน น้ำ ข้าวพืชไร่ ไม้ผล พืชผัก ประมง ปศุสัตว์ เกษตรปลอดภัย ยางพารา องค์กรเกษตรกรเข้มแข็ง ปลดหนี้ด้วยบัญชีและเศรษฐกิจพอเพียง
2.การประกวด ได้แก่ ไม้ผล พืชผัก ทำอาหารจากปลานิล ประกวดภาพถ่ายปลานิล ประกวดวาดภาพระบายสีเกี่ยวกับปลานิล ประกวดปลานิลใหญ่ (ปลาเป็น) โคพันธุ์เนื้อ
3.การประกวด ได้แก่ ไม้ผล พืชผัก ทำอาหารจากปลานิล ประกวดภาพถ่ายปลานิล ประกวดวาดภาพระบายสีเกี่ยวกับปลานิล ประกวดปลานิลใหญ่ (ปลาเป็น) โคพันธุ์เนื้อ
4.การสาธิต ได้แก่ การสาธิตสีข้าว สาธิตทำกระเป๋าจากต้นกก สาธิตการทาบกิ่ง จำหน่ายพันธุ์ไม้ผล ผลิตภัณฑ์จากปลานิล อาหารจากปลานิล การฝึกโค และการจูงโค โชว์พ่อพันธุ์โคเนื้อ แพะเนื้อ การกรีดยาง ระบายสีตุ๊กตายาง สหกรณ์สอนอาชีพ
และยังมีการจำหน่ายสินค้าทางการเกษตรที่ทางราชการส่งเสริม สนับสนุนจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านการเกษตร สหกรณ์การเกษตร รวมทั้งกลุ่ม OTOP นอกจากนี้ยังมีสินค้าอีกหลากหลายมาจำหน่าย มีมหรสพ ดนตรี มาแสดงในงานทุกคืน
ขอเชิญเกษตรกรและผู้สนใจเข้าชมงานได้ ฟรี
15 มิถุนายน 2555
เตือนภัย การระบาดของไรแดง มันสำปะหลัง
ช่วงนี้ พบการระบาดของไรแดง ในแปลงมันสำปะหลังหลายท้องที่ เกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลังควรหมั่นสำรวจแปลงปลูก หากพบการระบาดจะได้ป้องกันกำจัดทัน ก่อนที่จะระบาดรุนแรง
ไรแดง เป็นศัตรูที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของมันสำปะหลัง ที่มักระบาดในฤดูแล้ง หรือ เมื่อฝนทิ้งช่วง โดยไรแดงจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบทำให้สูญเสียคลอโรฟิลล์ หากระบาดรุนแรงจะเคลื่อนย้ายไปดูดกินบนยอดอ่อน สร้างเส้นใยปกคลุมใบและลำต้น ทำให้ผิวใบด้านบนเป็นจุดด่างประสีเหลืองซีด ยอดไหม้ ใบเหี่ยวแห้ง และร่วง หากเกษตรกรพ่นสารป้องกันกำจัดไรได้ทัน ก็จะสามารถยับยั้งการระบาดได้
ในสภาพธรรมชาติ แปลงมันสำปะหลังจะมีศัตรูธรรมชาติที่คอยทำลายแมลงศัตรูพืชอยู่มาก แต่ระยะที่ผ่านมาเริ่มมีการใช้สารเคมีในแปลงปลูกมันสำปะหลังมากขึ้น ทำให้ศัตรูธรรมชาติถูกทำลาย จึงมีการระบาดของศัตรูพืช เช่น เพลี้ยแป้ง ไรแดง และแมลงหวี่ขาว รุนแรงมากขึ้น
กรณีที่ไรแดงระบาดรุนแรง กลุ่มกีฏวิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ได้แนะนำชนิดและอัตราของสารฆ่าไรที่มีประสิทธิภาพในการกำจัด ดังนี้
- ไพริดาเบน (pyridaben) ๒๐% ดับบลิวพี อัตรา ๑๐ กรัม/น้ำ ๒๐ ลิตร
- เฟนบูทาติน ออกไซด์ (fenbutatin oxide) ๕๕% เอสซี อัตรา ๑๐ ซีซี/น้ำ ๒๐ ลิตร
- สไปโรมีซิเฟน (spiromesifen) ๒๔% เอสซี อัตรา ๖ ซีซี/น้ำ ๒๐ ลิตร
- เตตราไดฟอน (tetradifon) ๗.๒๕% อีซี อัตรา ๕๐ ซีซี/น้ำ ๒๐ ลิตร
ในการใช้สารฆ่าไร ไม่ควรพ่นชนิดเดียวกันติดต่อกันเกิน ๓ ครั้ง ควรสลับชนิดสารเพื่อป้องกันการต้านทานต่อสาร ข้อมูลเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๕๗๙ ๔๑๒๘
ลักษณะการทำลายของไรแดง
ภาพที่ 1 อาการเริ่มแรกที่เกิดจากการทำลายของไรแดง ใบเกิดจุดประสีขาว
ภาพที่ 3 ไรแดงทำลายอย่างรุนแรง ใบเริ่มเป็นสีน้ำตาล
ภาพที่ 4 หากไม่มีการป้องกันกำจัดไรแดงที่เหมาะสมทำให้ใบไหม้ แห้ง
ข้อมูล:กลุ่มกีฏวิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ไรแดง เป็นศัตรูที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของมันสำปะหลัง ที่มักระบาดในฤดูแล้ง หรือ เมื่อฝนทิ้งช่วง โดยไรแดงจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบทำให้สูญเสียคลอโรฟิลล์ หากระบาดรุนแรงจะเคลื่อนย้ายไปดูดกินบนยอดอ่อน สร้างเส้นใยปกคลุมใบและลำต้น ทำให้ผิวใบด้านบนเป็นจุดด่างประสีเหลืองซีด ยอดไหม้ ใบเหี่ยวแห้ง และร่วง หากเกษตรกรพ่นสารป้องกันกำจัดไรได้ทัน ก็จะสามารถยับยั้งการระบาดได้
ในสภาพธรรมชาติ แปลงมันสำปะหลังจะมีศัตรูธรรมชาติที่คอยทำลายแมลงศัตรูพืชอยู่มาก แต่ระยะที่ผ่านมาเริ่มมีการใช้สารเคมีในแปลงปลูกมันสำปะหลังมากขึ้น ทำให้ศัตรูธรรมชาติถูกทำลาย จึงมีการระบาดของศัตรูพืช เช่น เพลี้ยแป้ง ไรแดง และแมลงหวี่ขาว รุนแรงมากขึ้น
กรณีที่ไรแดงระบาดรุนแรง กลุ่มกีฏวิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ได้แนะนำชนิดและอัตราของสารฆ่าไรที่มีประสิทธิภาพในการกำจัด ดังนี้
- ไพริดาเบน (pyridaben) ๒๐% ดับบลิวพี อัตรา ๑๐ กรัม/น้ำ ๒๐ ลิตร
- เฟนบูทาติน ออกไซด์ (fenbutatin oxide) ๕๕% เอสซี อัตรา ๑๐ ซีซี/น้ำ ๒๐ ลิตร
- สไปโรมีซิเฟน (spiromesifen) ๒๔% เอสซี อัตรา ๖ ซีซี/น้ำ ๒๐ ลิตร
- เตตราไดฟอน (tetradifon) ๗.๒๕% อีซี อัตรา ๕๐ ซีซี/น้ำ ๒๐ ลิตร
ในการใช้สารฆ่าไร ไม่ควรพ่นชนิดเดียวกันติดต่อกันเกิน ๓ ครั้ง ควรสลับชนิดสารเพื่อป้องกันการต้านทานต่อสาร ข้อมูลเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๕๗๙ ๔๑๒๘
ลักษณะการทำลายของไรแดง
ภาพที่ 1 อาการเริ่มแรกที่เกิดจากการทำลายของไรแดง ใบเกิดจุดประสีขาว
ภาพที่ 3 ไรแดงทำลายอย่างรุนแรง ใบเริ่มเป็นสีน้ำตาล
ภาพที่ 4 หากไม่มีการป้องกันกำจัดไรแดงที่เหมาะสมทำให้ใบไหม้ แห้ง
ข้อมูล:กลุ่มกีฏวิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
2 เมษายน 2555
ไกลโฟเสท...ใช้ผิด เป็นพิษต่อพืช
ไกลโฟเสท เป็นสารกำจัดวัชพืชประเภทดูดซึึม ไม่เลือกทำลาย นำมาใช้ในการควบคุมวัชพืชได้หลายชนิด เกษตรกรบางรายนำมาใช้กำจัดวัชพืชที่ขึ้นในแปลงมันสำปะหลัง ซึ่งหากมีการใช้อย่างไม่ระมัดระวัง สามารถทำให้เกิดอาการผิดปกติกับมันสำปะหลังได้เมื่อพ่นขณะมันสำปะหลังต้นยังเล็ก หรือหากพ่นเมื่อต้นมันสำปะหลังต้นโตแต่ใช้ในอัตราที่สูงเกินไปและขาดความระมัดระวังในการพ่น แม้ว่าเกษตรกรบางรายจะทราบข้อมูลนี้เป็นอย่างดี แต่ในทางปฏิบัติการพ่นสารกำจัดวัชพืชเกษตรกรจะจ้างคนงานพ่นและไม่ได้มีการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด ทำให้ต้นพืชได้รับความเสียหาย (ภาพประกอบ 1-4)
การพ่นสารไกลโฟเสทขณะที่ต้นมันสำปะหลังยังเล็ก จะทำให้แคระแกร็น ไม่เจริญเติบโต หยักใบมีลักษณะเป็นฝอย ยอดไม่เจริญ มีการแตกกิ่งที่ผิดปกติแต่ไม่เจริญเติบโต
ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการใช้สารไกลโฟเสทในระยะแรกของการปลูกมันสำปะหลัง โดยให้ใช้สารควบคุมวัชพืชชนิด อลาคลอร์ หรือ ไดยูรอน ทันทีหลังปลูก หรือใช้จอบ เครื่องกลขนาดเล็กกำจัดวัชพืชระหว่างแถวปลูก เมื่อมันสำปะหลังอายุ 1-2 เดือน (ก่อนใส่ปุ๋ย)ให้ใช้จอบดายหรือพ่นสารกำจัดวัชพืชอีกครั้งด้วยฟลูอาซิฟอบ-พีบิวทิล ถ้ามีวัชพืชจำพวกใบแคบมากกว่า 50 %ของพื้นที่
หมายเหตุ:การใช้สารไดยูรอน ต้องพ่นทันทีหลังปลูกเสร็จขณะดินมีความชื้น หากพ่นหลังจากมันสำปะหลังแตกใบแล้ว จะเป็นพิษกับมันสำปะหลัง ทำให้ใบเหลืองจนถึงใบไหม้ ซึ่งพบเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งเนื่องจากเกษตรกรมีความเข้าใจว่าไดยูรอนเป็นสารที่แนะนำให้ใช้กำจัดวัชพืชในมันสำปะหลัง จึงไม่คิดว่าจะมีความเป็นพิษกับมันสำปะหลัง ในความเป็นจริงนั้นหากเกษตรกรใช้สารกำจัดวัชพืชไม่ถูกช่วงเวลาก็สามารถทำให้เกิดความเสียหายกับพืชปลูกของเราได้
การพ่นสารไกลโฟเสทขณะที่ต้นมันสำปะหลังยังเล็ก จะทำให้แคระแกร็น ไม่เจริญเติบโต หยักใบมีลักษณะเป็นฝอย ยอดไม่เจริญ มีการแตกกิ่งที่ผิดปกติแต่ไม่เจริญเติบโต
ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการใช้สารไกลโฟเสทในระยะแรกของการปลูกมันสำปะหลัง โดยให้ใช้สารควบคุมวัชพืชชนิด อลาคลอร์ หรือ ไดยูรอน ทันทีหลังปลูก หรือใช้จอบ เครื่องกลขนาดเล็กกำจัดวัชพืชระหว่างแถวปลูก เมื่อมันสำปะหลังอายุ 1-2 เดือน (ก่อนใส่ปุ๋ย)ให้ใช้จอบดายหรือพ่นสารกำจัดวัชพืชอีกครั้งด้วยฟลูอาซิฟอบ-พีบิวทิล ถ้ามีวัชพืชจำพวกใบแคบมากกว่า 50 %ของพื้นที่
หมายเหตุ:การใช้สารไดยูรอน ต้องพ่นทันทีหลังปลูกเสร็จขณะดินมีความชื้น หากพ่นหลังจากมันสำปะหลังแตกใบแล้ว จะเป็นพิษกับมันสำปะหลัง ทำให้ใบเหลืองจนถึงใบไหม้ ซึ่งพบเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งเนื่องจากเกษตรกรมีความเข้าใจว่าไดยูรอนเป็นสารที่แนะนำให้ใช้กำจัดวัชพืชในมันสำปะหลัง จึงไม่คิดว่าจะมีความเป็นพิษกับมันสำปะหลัง ในความเป็นจริงนั้นหากเกษตรกรใช้สารกำจัดวัชพืชไม่ถูกช่วงเวลาก็สามารถทำให้เกิดความเสียหายกับพืชปลูกของเราได้
20 มีนาคม 2555
การฝึกอบรมระบบปลูกพืชที่มีข้าวเป็นหลัก
เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2555 นายศักดิ์ เพ่งผล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรมหลักสูตร ระบบการปลูกพืชที่มีข้าวเป็นหลัก รุ่นที่ 4 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-10 มีนาคม 2555 ณ โรงแรมบ้านสวนรีสอร์ท อ.เมือง จ.นครสวรรค์ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้แก่เจ้าหน้าและนักวิชาการของกรมส่งเสริมการเกษตร ที่มาจากพื้นที่ 11 จังหวัด จำนวน 100 คน เนื้อหาของการฝึกอบรมประกอบด้วยความรู้ในด้านพันธุ์ เทคโนโลยีการผลิต และการป้องกันกำจัดศัตรูพืช ของพืชไร่ 3 ชนิด ที่แนะนำให้ปลูกหลังการทำนา ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดฝักสด และถั่วเขียว รวมทั้งผลกระทบจากการปลูกพืชมากกว่า 2 ครั้ง โดยมีวิทยากรจากสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ และศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท มาบรรยายให้ความรู้ในแต่ละสาขาวิชา
โครงการนี้อยู่ภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมวิชาการเกษตรและกรมส่งเสริมการเกษตร มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงและบูรณาการร่วมกันในการนำองค์ความรู้จากงานวิจัยด้านการเกษตรของกรมวิชาการเกษตรโดยเฉพาะระบบปลูกพืชไร่ที่มีข้าวเป็นหลักมาถ่ายทอดให้กับนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรเพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นวิทยากรฝึกอบรมเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจัดระบบการปลูกข้าว ปี 2555 กรมวิชาการเกษตรจึงได้มอบหมายให้สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน ดำเนินการจัดฝึกอบรมหลักสูตร ระบบการปลูกพืชที่มีข้าวเป็นหลัก ให้กับนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรที่ต้องนำความรู้ไปถ่ายทอดให้กับเกษตรกรต่อไป
โครงการนี้อยู่ภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมวิชาการเกษตรและกรมส่งเสริมการเกษตร มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงและบูรณาการร่วมกันในการนำองค์ความรู้จากงานวิจัยด้านการเกษตรของกรมวิชาการเกษตรโดยเฉพาะระบบปลูกพืชไร่ที่มีข้าวเป็นหลักมาถ่ายทอดให้กับนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรเพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นวิทยากรฝึกอบรมเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจัดระบบการปลูกข้าว ปี 2555 กรมวิชาการเกษตรจึงได้มอบหมายให้สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน ดำเนินการจัดฝึกอบรมหลักสูตร ระบบการปลูกพืชที่มีข้าวเป็นหลัก ให้กับนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรที่ต้องนำความรู้ไปถ่ายทอดให้กับเกษตรกรต่อไป
25 มกราคม 2555
ประชุมแถลงผลงานวิจัย ประจำปี 2554
ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ จัดให้มีการประชุมแถลงผลงานวิจัย ประจำปี 2554 เพื่อรายงานความก้าวหน้า หรือ สรุปผลการดำเนินงานในแต่ละการทดลอง ภายใต้โครงการวิจัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ฝ้าย และพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ในวันที่ 14-15 กุมภาพันธ์ุ 2555
เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2555 นายธงชัย ตั้งเปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน กรมวิชาการเกษตร เดินทางมาเปิดการประชุมแถลงผลงานวิจัยประจำปี 2554 ซึ่งจัดระหว่างวันที่ 14-15 กุมภาพันธ์ 54 ณ อาคารเอนกประสงค์ ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ โดยมี นายพิเชษฐ์ กรุดลอยมา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ กล่าวรายงาน การประชุมแถลงผลงานเป็นการสรุปและรายงานผลการวิจัยที่ได้ดำเนินงานในปี 2554 ประกอบไปด้วยงานวิจัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ฝ้าย และพืชไร่เศรษฐกิจอื่นๆ ซึ่งมีทั้งหมด 9 ชุดโครงการ 13 โครงการวิจัย รวมจำนวน 58 การทดลอง มีผู้เข้าร่วมประชุมจากหน่วยงานของกรมวิชาการเกษตร ได้แก่ สำนักวิจัย สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน ศูนย์วิจัยพืช และ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร รวม 57 ราย การประชุมแถลงผลงานนี้เป็นโอกาสอันดีที่นักวิจัยของศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ จะได้นำเสนอผลงานวิจัยต่าง ๆ ให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับทราบผลการดำเนินงาน ตลอดจนได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงานซึ่งกันและกัน
เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2555 นายธงชัย ตั้งเปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน กรมวิชาการเกษตร เดินทางมาเปิดการประชุมแถลงผลงานวิจัยประจำปี 2554 ซึ่งจัดระหว่างวันที่ 14-15 กุมภาพันธ์ 54 ณ อาคารเอนกประสงค์ ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ โดยมี นายพิเชษฐ์ กรุดลอยมา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ กล่าวรายงาน การประชุมแถลงผลงานเป็นการสรุปและรายงานผลการวิจัยที่ได้ดำเนินงานในปี 2554 ประกอบไปด้วยงานวิจัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ฝ้าย และพืชไร่เศรษฐกิจอื่นๆ ซึ่งมีทั้งหมด 9 ชุดโครงการ 13 โครงการวิจัย รวมจำนวน 58 การทดลอง มีผู้เข้าร่วมประชุมจากหน่วยงานของกรมวิชาการเกษตร ได้แก่ สำนักวิจัย สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน ศูนย์วิจัยพืช และ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร รวม 57 ราย การประชุมแถลงผลงานนี้เป็นโอกาสอันดีที่นักวิจัยของศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ จะได้นำเสนอผลงานวิจัยต่าง ๆ ให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับทราบผลการดำเนินงาน ตลอดจนได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงานซึ่งกันและกัน
18 มกราคม 2555
เกษตรกรโครงการหมู่บ้านเมล็ดพันธุ์ ดูงานแปลงสาธิตการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสม
เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2555 เวลา 10.00 น. นายพิเชษฐ์ กรุดลอยมา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ กล่าวต้อนรับเกษตรกรผู้ร่วมโครงการหมู่บ้านเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดในประเทศไทย (AFACI)จากจังหวัดเชียงใหม่ เพชรบูรณ์ สุโขทัย และ ตาก จำนวน 110 คน ซึ่งเดินทางมาทัศนศึกษาและเยี่ยมชมแปลงสาธิตการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสม “นครสวรรค์ 3” ณ ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์
การทัศนศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความรู้แก่เกษตรกรและมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดระหว่างเกษตรกรด้วยกันและระหว่างเกษตรกรและนักวิชาการเกษตร เนื่องจากเกษตรกรมาจากสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย อาจมีเทคนิควิธีการหรือปัญหาในการผลิตแตกต่างกัน สามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเพื่อนำกลับไปพัฒนาการผลิตให้ได้ผลผลิตที่สูงขึ้นและมีคุณภาพยิ่งขึ้น
นายพิเชษฐ์ กรุดลอยมา ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า ศูนย์ฯ ดำเนินการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมและรับรองพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์นครสวรรค์ 3 ซึ่งให้ผลผลิตสูง ทนทานแล้ง รวมทั้งต้านทานโรค ขณะเดียวกันก็ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรที่สนใจและมีศักยภาพได้มีโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อเก็บไว้ใช้เอง จะทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์ร้อยละ 40-50 โครงการหมู่บ้านเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดในประเทศไทยนี้ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสาธารณรัฐเกาหลี โดยเน้นเรื่องการผลิตเมล็ดพันธุ์อย่างยั่งยืนเพื่อให้เกษตรกรมีความเข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเองได้
การทัศนศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความรู้แก่เกษตรกรและมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดระหว่างเกษตรกรด้วยกันและระหว่างเกษตรกรและนักวิชาการเกษตร เนื่องจากเกษตรกรมาจากสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย อาจมีเทคนิควิธีการหรือปัญหาในการผลิตแตกต่างกัน สามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเพื่อนำกลับไปพัฒนาการผลิตให้ได้ผลผลิตที่สูงขึ้นและมีคุณภาพยิ่งขึ้น
นายพิเชษฐ์ กรุดลอยมา ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า ศูนย์ฯ ดำเนินการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมและรับรองพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์นครสวรรค์ 3 ซึ่งให้ผลผลิตสูง ทนทานแล้ง รวมทั้งต้านทานโรค ขณะเดียวกันก็ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรที่สนใจและมีศักยภาพได้มีโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อเก็บไว้ใช้เอง จะทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์ร้อยละ 40-50 โครงการหมู่บ้านเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดในประเทศไทยนี้ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสาธารณรัฐเกาหลี โดยเน้นเรื่องการผลิตเมล็ดพันธุ์อย่างยั่งยืนเพื่อให้เกษตรกรมีความเข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเองได้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)