20 กรกฎาคม 2560

ผลของอายุเก็บเกี่ยวที่มีต่อผลผลิตและปริมาณแป้งมันสำปะหลัง

โดย วีรวัฒน์ นิลรัตนคุณ และโอภาษ บุญเส็ง

การศึกษาผลของอายุเก็บเกี่ยวที่มีต่อผลผลิตและปริมาณแป้งในหัวสดของมันสำปะหลังที่ปลูกในดินเหนียวสีดำ ชุดลพบุรี

วางแผนการทดลองแบบ Split plot มี 3 ซ้ำ ปัจจัยหลักประกอบด้วยพันธุ์มันสำปะหลัง 4 พันธุ์ คือ ระยอง 5 ระยอง 7 เกษตรศาสตร์ 50 และห้วยบง 60 ปัจจัยรองประกอบ 6 อายุเก็บเกี่ยว ที่อายุ 8, 10, 12, 14, 16 และ 18 เดือน ทำการทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ ในปี พ.ศ. 2547-2549 โดยปลูกมันสำปะหลังในช่วงต้นและปลายฤดูฝนปี พ.ศ. 2547 และต้นฤดูฝนปี พ.ศ. 2548 ระยะปลูก 1.0x1.0 ม.

ผลการทดลอง พบว่า ผลผลิตของมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นตามอายุการเก็บเกี่ยว และการปลูกต้นฤดูฝนให้ผลผลิตสูงกว่าปลายฤดูฝน  การเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังที่อายุเก็บเกี่ยว 18 เดือน ทั้งในช่วงต้นและปลายฤดูฝน ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงกว่าการเก็บเกี่ยวที่อายุ 10 เดือน ถึง 123 และ 105 % ตามลำดับ  โดยพันธุ์   ห้วยบง 60 ให้ผลผลิตสูงที่สุดเมื่อปลูกต้นฤดูฝน พันธุ์ระยอง 7 ให้ผลผลิตสูงที่สุดเมื่อปลูกปลายฤดูฝน

ในส่วนของปริมาณแป้งในหัวสด พบว่า ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมขณะที่ทำการเก็บเกี่ยว และระยะการเจริญเติบโต โดยมีปริมาณแป้งเฉลี่ยสูงที่สุดในช่วงเดือนมกราคม ปริมาณแป้งเริ่มลดในเดือนมีนาคม และมีปริมาณต่ำสุดในเดือนพฤษภาคม หลังจากนั้นปริมาณแป้งจะค่อย ๆ เพิ่มสูงขึ้น แม้ในช่วงเดือนกันยายนที่มีฝนตกหนัก ยังมีปริมาณแป้งสูงถึง 25 % และปริมาณจะขึ้นสูงสุดที่เดือนมกราคมอีกครั้ง

เนื้อหา