25 เมษายน 2560

การทำลายของหนอนด้วงดีดในข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

หนอนด้วงดีด หรือ wireworms
ชื่อวิทยาศาสตร์ Aeolus mellilus (Coleoptera : Elateridae) นอกจาก Aeolus mellilus  ยังพบด้วงดีดชนิดอื่นๆ ที่ทำลายข้าวโพด


ลักษณะการทำลาย
ระยะตัวหนอนเป็นระยะที่ทำลายพืช มักพบการทำลายในระยะกล้า หลังจากเมล็ดเริ่มงอก โดยกัดกินเนื้อในเมล็ดข้าวโพดที่ปลูกอยู่ในดิน  กัดกินส่วนราก  โคนต้น หรือ กัดกินส่วนเจริญบริเวณโคนต้น ทำให้ต้นข้าวโพดเหี่ยวและแห้งตายเป็นหย่อม ๆ  
การทำลายในระยะต้นโต หนอนกัดกินราก กัดกินส่วนโคนต้น และเจาะเข้าไปในลำต้นทำให้ต้นข้าวโพดหักล้ม 

ช่วงที่พบการระบาด
พบการระบาดบางจุดของพื้นที่ เป็นบางช่วงเท่านั้น ไม่ได้ทำความเสียหายในพื้นที่กว้าง 
ช่วงที่พบได้แก่ สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมกราคม 2560 พฤศจิกายน 2562  สัปดาห์ที่ 3 มกราคม 2562  สัปดาห์ที่ 3 เดือนมีนาคม 2563 ในพื้นที่แปลงทดลองปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์  







ลักษณะของหนอนด้วงดีด
ตัวหนอนและตัวเต็มวัยของด้วงดีด มีลักษณะแตกต่างกันในแต่ละชนิด หนอนด้วงดีด มีพืชอาหารหลายชนิด อาศัยอยู่ในส่วนดอก ใต้เปลือก และภายในต้นพืช ตัวหนอนมีรูปร่างเรียวยาว ลำตัวเป็นมันวาว ระยะตัวหนอนเป็นระยะที่ทำลายพืชได้รุนแรง โดยกัดกินรากและส่วนของพืชที่อยู่ใต้ดิน ตัวหนอนเข้าดักแด้ในเนื้อเยื่อพืชที่อยู่ใต้ดิน ใช้เวลาหลายเดือนหรือเป็นปีเพื่อพัฒนาเป็นตัวเต็มวัย  ตัวเต็มวัยเมื่อหงายตัวจะพับตัวดีดเพื่อให้ตัวคว่ำลง ทำให้เกิดเสียง จึงเรียกว่าด้วงดีด (Click beetle)

ลำตัวด้านบนของหนอนด้วงดีด


ลำตัวด้านข้างของหนอนด้วงดีด



ส่วนขาของหนอนด้วงดีด


ปลายส่วนท้องของหนอนด้วงดีด

 





ตัวเต็มวัยที่พบอยู่ในดิน บริเวณพื้นที่ปลูก



บริเวณที่พบการระบาด มักจะไม่สามารถกำจัดให้หมดไป หากมีความรุนแรง การลดความเสียหาย ทำได้โดยคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารเคมี หรือ เพิ่มอัตราเมล็ดพันธุ์ต่อไร่


ข้อมูลและภาพหนอนด้วงดีด : 

กลุ่มงานอนุกรมวิธานแมลง กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช และ ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์

Insect Pests of Maize, A guide for field identification, CIMMYT. 1987.

เนื้อหา