19 พฤศจิกายน 2558

เตือนภัยการเกษตร การระบาดของแมลงศัตรูทานตะวัน

ช่วงฤดูแล้ง ทานตะวันอาจได้รับผลกระทบจากการระบาดของแมลงศัตรูพืช  ระยะการเจริญเติบโตของทานตะวันที่ควรมีการเฝ้าระวังได้แก่ ทานตะวันที่ปลูกใหม่อายุไม่เกิน 45 วัน และทานตะวันที่อยู่ในระยะดอกเริ่มบาน


  • ทานตะวันปลูกใหม่อายุไม่เกิน 45 วัน
ปัญหาที่ควรระวัง
การระบาดของเพลี้ยไฟ และเพลี้ยจักจั่น

ข้อสังเกตลักษณะ/อาการที่อาจพบ
ใบหงิกงอ ขอบใบสีเหลืองและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเหี่ยวแห้ง หลุดร่วง

แนวทางการป้องกัน/แก้ไข
      ถ้าพบเพลี้ยไฟ หรือ ตัวอ่อนเพลี้ยจักจั่นมากกว่า 2 ตัว / ใบ ควรเลือกใช้สารฆ่าแมลงชนิดใดชนิดหนึ่ง ได้แก่ 
อิมิดาโคลพริด 70% WG อัตรา 2 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ไทอะมีโทแซม 25% WG อัตรา 2 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรือ
อะเซททามิพริด 20% SP อัตรา 4 กรัม / น้ำ 20 ลิตร ซึ่งมีประสิทธิภาพป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ และเพลี้ยจักจั่น
ส่วนไดโนทีฟูแรน 10% WG อัตรา 10 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรือ บูโพรเฟซิน 25% WP 20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร มีประสิทธิภาพป้องกันเพลี้ยจักจั่น


  • ทานตะวันระยะดอกเริ่มบาน
ปัญหาที่ควรระวัง
การระบาดของหนอนเจาะสมอฝ้าย

ข้อสังเกตลักษณะ/อาการที่อาจพบ : พบหนอนเจาะสมอฝ้ายฝังตัวกัดกินเมล็ดที่กำลังพัฒนาอยู่บริเวณส่วนกลางของจานดอก ถ้าระบาดรุนแรง จะทำให้ผลผลิตลดลง เนื่องจากหนอนกัดกินกลีบดอก และ กลีบเลี้ยง ทำให้ไม่สามารถดึงดูดแมลงในการผสมเกสรการติดเมล็ดไม่ดี มีเมล็ดลีบจำนวนมาก

แนวทางการป้องกัน/แก้ไข
     1. กำจัดวัชพืชซึ่งเป็นพืชอาศัยของหนอนเจาะสมอฝ้ายบริเวณรอบแปลงทานตะวัน
     2. เก็บหนอนที่มีขนาดใหญ่มาทำลาย เนื่องจากหนอนขนาดใหญ่ใช้สารเคมีไม่ได้ผล
     3. ถ้ามีการระบาดรุนแรง และจำเป็นต้องใช้สารฆ่าแมลง ควรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงชนิดใดชนิดหนึ่ง ได้แก่ อิมาเม็กตินเบนโซเอท 1.92% EC อัตรา 10 มิลลิลิตร /น้ำ 20 ลิตร ลูเฟนนูรอน 5% EC อัตรา 10 มิลลิลิตร /น้ำ 20 ลิตร คลอร์ฟลูอาซูรอน 5% EC อัตรา 20 มิลลิลิตร /น้ำ 20 ลิตร หรือ เมท็อกซี่ฟีโนไซดื 24% SC อัตรา 10 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร โดยพ่นที่บริเวณจานดอก









ที่มา: แจ้งเตือนภัยการเกษตร กรมวิชาการเกษตร

เนื้อหา