17 กรกฎาคม 2561

การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินในการผลิตมันสำปะหลัง

การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน คืออะไร?
การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน เป็นการใช้ปุ๋ยให้ตรงตามระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน และตรงตามความต้องการของพืช ทำให้พืชเจริญเติบโตดี และการให้ผลตอบแทนคุ้มค่าแก่การลงทุน

สมบัติของดินที่เหมาะสมในการผลิตมันสำปะหลัง
  •        ค่าการนำไฟฟ้าเมื่ออิ่มตัวด้วยน้ำ มีค่าไม่เกิน 0.5 เดซิซีเมนต่อเมตร
  •  ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) 5.0-6.5
  • อินทรียวัตถุ 0.65-2.0 %
  •  เนื้อดินทราย  ดินร่วน หรือดินร่วนปนทราย
  •  โปร่ง ร่วนซุย และระบายน้ำดี
  • ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ มากกว่า 7 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
  •  โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ มากกว่า 30  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
  •  แคลเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ มากกว่า 50  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
  • แมกนีเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ มากกว่า 24  มิลลิกรัม/กิโลกรัม

การปรับปรุงดินก่อนการปลูกมันสำปะหลัง
  • ดินมีอินทรียวัตถุต่ำ ดินทราย ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 1 ตัน/ไร่ หว่านให้ทั่วพื้นที่แล้วไถกลบก่อนปลูก
  •  ดินดาน ควรไถระเบิดดินดานลึกประมาณ 50 เซนติเมตร ในขณะดินแห้ง
  •  ดินที่มีค่าความเป็นกรด-ด่าง น้อยกว่า 5.0 ควรปรับปรุงดินด้วยโดโลไมท์ อัตรา 100 กิโลกรัม/ไร่  โดยหว่านให้ทั่วแปลงก่อนไถเตรียมดิน

คำแนะนำการใช้ปุ๋ยสำหรับมันสำปะหลัง

ความต้องการธาตุอาหารของมันสำปะหลัง

การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน สำหรับมันสำปะหลัง




วิธีการใส่ปุ๋ย
- ดินร่วน ถึง ร่วนเหนียว ใส่ปุ๋ยเมื่อมันสำปะหลังอายุ 1-2 เดือน
- ดินทราย ควรแบ่งใส่ 2 ครั้ง
ครั้งที่ 1 ใส่เมื่อมันสำปะหลังอายุ 1 เดือน ให้มีธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ครบทั้ง 3 ธาตุ เช่น ปุ๋ย 16-16-8
ครั้งที่ 2 เมื่อมันสำปะหลังอายุ 2 เดือน  และดินมีความชื้นเหมาะสม ใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) และปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ (0-0-60) โดยโรยเป็นแถวสองข้างต้นแล้วพรวนกลบ

แหล่งข้อมูล
กลุ่มวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
กรมวิชาการเกษตร ปี 2561

ติดต่อสอบถาม
โทร. 0-2561-4681 โทรสาร 0-2940-5942
กลุ่มวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
กรมวิชาการเกษตร

เนื้อหา