การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน
เป็นการใช้ปุ๋ยให้ตรงตามระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน และตรงตามความต้องการของพืช
ทำให้พืชเจริญเติบโตดี และการให้ผลตอบแทนคุ้มค่าแก่การลงทุน
สมบัติของดินที่เหมาะสมในการผลิตอ้อย
สมบัติของดินที่เหมาะสมในการผลิตอ้อย
- ดินลึกมากกว่า
100 เซนติเมตร
- ค่าความเป็นกรด-ด่าง
(pH)
5.6-7.3
- อินทรียวัตถุ
1.5-2.5 %
- เนื้อดินร่วนปนทราย
ถึงร่วนเหนียว
- โปร่ง
ร่วนซุย และระบายน้ำดี
- ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์
10-20 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้
80-150 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- แคลเซียมที่แลกเปลี่ยนได้
มากกว่า 110-125 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- แมกนีเซียมที่แลกเปลี่ยนได้
12-30 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
ความต้องการธาตุอาหารของอ้อย
ในการสร้างผลผลิต
1 ตัน อ้อยต้องการใช้ธาตุอาหาร
- ไนโตรเจน
(N) 1.41 กิโลกรัม
- ฟอสฟอรัส
(P) 0.61 กิโลกรัม
- โพแทสเซียม
(K) 2.17 กิโลกรัม
- แคลเซียม
(Ca) 0.51 กิโลกรัม
- แมกนีเซียม
(Mg) 0.30 กิโลกรัม
คำแนะนำการใช้ปุ๋ยสำหรับอ้อย
- ดินทราย
ดินร่วนปนทราย ควรปรับปรุงด้วยวัสดุอินทรีย์ เช่น กากตะกอนหม้อกรองอ้อย อัตรา 1
ตันต่อไร่
- ดินที่มีค่าความเป็นกรด-ด่าง น้อยกว่า 5.6 ควรปรับปรุงดินด้วยโดโลไมท์ อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ โดยหว่านให้ทั่วแปลงก่อนไถเตรียมดิน
- ดินที่มีค่าความเป็นกรด-ด่าง น้อยกว่า 5.6 ควรปรับปรุงดินด้วยโดโลไมท์ อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ โดยหว่านให้ทั่วแปลงก่อนไถเตรียมดิน
วิธีการใส่ปุ๋ย
การใส่ปุ๋ยอ้อย
ควรแบ่งใส่ 2-3 ครั้ง
- ครั้งที่ 1 ใส่ปุ๋ยรองพื้นพร้อมปลูก ให้มีธาตุอาหารไนโตรเจน
ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ครบทั้ง 3 ธาตุ เช่น ปุ๋ย 16-16-8
- ครั้งที่ 2 เมื่ออ้อยอายุ 3-4
เดือน หรือ 5-6 เดือน
(สำหรับอ้อยที่ปลูกข้ามแล้ง) และดินมีความชื้นเหมาะสม ใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0)
และปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ (0-0-60) โดยโรยเป็นแถวสองข้างต้นแล้วพรวนกลบ
การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน
สำหรับอ้อยปลูก
การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน สำหรับอ้อยตอ
แหล่งข้อมูล
กรมวิชาการเกษตร
ปี 2561
ติดต่อสอบถาม
โทร.
0-2561-4681 โทรสาร 0-2940-5942
กลุ่มวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
กรมวิชาการเกษตร